ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบสัญญาณภาพจากกล้อง Analog โดยใช้ระบบบันทึกภาพแบบ DVR (digital Video Recorder) และแบบสัญญาณกล้องเป้น IP แล้วใช้ชุดบันทึกภาพแบบ NVR (Network VDO Recorder) โดยทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันดังนี้ 1. ระบบ DVR ระบบ DVR จะรับสัญญาณภาพจากกล้องที่มีการประมวลผลแบบ Digit
หลังจากที่ US Green Building Council ได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในชื่อ LEED เกณฑ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีอาคารหลายแห่งในหลายประเทศ สนใจเข้าร่วมรับการประเมิน กว่า 26,000 อาคารแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ได้พัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาใช้เอง เช่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศไทย ที่มีการก่อตั้งสถาบันอาคารเขียวไทย ทำให้เกณฑ์อาคารเขียวได้รับการเผยแพร่อย่างหลากหลาย และในบางเมืองกฎหมายได้กำหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวเลยทีเดียว
หากพิจารณาจากเกณฑ์ของ LEED แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นความคิดรวบยอดที่ได้มาจากการพบเจอปัญหาจากการก่อสร้างอาคาร การใช้งานอาคารที่สิ้นเปลืองพลังงาน และเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดยังส่งผลให้ผู้ใช้งานอาคารสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และเสียสุขภาพด้วย
เกณฑ์ของ LEED นั้น ได้แบ่งออกเป็น 6 หมวด ตามประเภทของปัญหา ได้แก่
- 1. Sustainable Site เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสถานที่ และการก่อสร้างที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- 2. Water Efficiency เพื่อแก้ปัญหาการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง
- 3. Energy and Atmosphere เพื่อแก้ปัญหาการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง และ แก้ปัญหาโลกร้อน
- 4. Materials and Resources เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการใช้วัสดุที่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
- 5. Indoor Environmental Quality เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี แก่ผู้ใช้งานในอาคาร
- 6. Innovation in Design เพื่อเปิดโอกาสให้อาคารต่าง ๆ สามารถนำเสนอ แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อโลก
รายละเอียดของหมวดต่าง ๆ นั้น ทุกท่านสามารถอ่านได้จาก www.usgbc.org และ www.ashrae.org จากการเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และจากการที่ได้ร่วมออกแบบอาคารต่าง ๆ ทำให้ได้เห็นความต้องการของ เจ้าของอาคาร Hotel Operator สถาบันต่าง ๆ ที่เป็นผู้ตัดสินความยอดเยี่ยมของอาคาร และ กฎหมายท้องถิ่นในต่างประเทศ ได้กำหนดให้อาคารที่จะสร้างใหม่ต้องพัฒนาอาคารด้วยแนวทางอาคารเขียวด้วย ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้ เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากหลายอาคารได้พิสูจน์จากการก่อสร้างจริงแล้วว่า อาคารที่พัฒนาขึ้นตามมาตรฐานอาคารเขียว สามารถตอบสนองต่อการใช้งานอาคารของเจ้าของอาคาร และผู้ใช้งานได้อย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานมีความสุขกับการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในองค์กรได้อีกทาง
นอกจากนั้น จากการเก็บข้อมูลการใช้งานในอาคาร ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ของกลุ่มบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้การรับรองจาก USGBC ในระดับ LEED PLATINUM ก็พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในขณะที่เช่าพื้นที่ในอาคารอื่น ก็เป็นการช่วยยืนยันว่าการลงทุนเพิ่มเพื่อให้เป็นอาคารเขียวนั้น ถึงแม้จะต้องลงทุนเยอะกว่าแต่ก็จะได้ผลประหยัดทยอยกลับมาในภายหลังแน่นอน
สรุปได้ว่า ด้วยกระแสแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาสุขภาพ ที่กำลังขยายตัวไปทั่วโลก และผลพิสูจน์ทางการเงินแล้วว่าอาคารเขียวไม่ได้มีการลงทุนที่มากเกินความจำเป็น ก็จะยิ่งเป็นแรงผลักดันให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่จะต้องพัฒนา และ แสดงตนว่าเป็นอาคารเขียว เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้บริการ และ สังคม มากขึ้นเรื่อย ๆแน่นอน ดังนั้นวิศวกรในทุกสาขาจึงควรเตรียมพร้อมและเรียนรู้ที่จะพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตามแนวทางอาคารเขียวด้วย เพื่อเป็นการสร้างผลงานอย่างยั่งยืนแก่โลกนี้ต่อไป
Source: นายประพุธ พงษ์เลาหพันธุ์ LEED-AP
หมวดหมู่:
ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในกา
ในการใช้พลังงานโดยทั่วไป ระบบทำน้ำเย็น (Chiller Plant) เป็นระบบหนึ่งที่มีการใช้พลังงานอยู่ในสัดส่วนที่สูง ซึ่งการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพหรือการมองหาโอกาสในการประหยัดพลังงานของระบบ สามารถปรับปรุงได้โดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งใน 7 วิธีการที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ ปรับปรุงการตั้งค่า set poin