https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_9_1.png

โดยทั่วไปการใช้พลังงานของโรงงานจะแปรผันตามปริมาณผลผลิต ซึ่งสามารถนำความสัมพันธ์ดังกล่าวมาใช้ในการตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานได้ โดยเรียกชื่อกราฟในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและผลผลิตนี้ว่า Scatter Diagram กราฟนี้จะ Plot ข้อมูลโดยให้แกนตั้งเป็นปริมาณพลังงานและแกนนอนเป็นปริมาณผลผลิต แล้วหาสมการตัวแทนของข้อมูลที่เหมาะสม (Best fit line)

จากกราฟ ความสัมพันธ์ระหว่างพลังานที่ใช้กับผลผลิตที่ได้จะแปรผันตามสมการ Y = mX + C

โดยที่

  • Y = พลังงานที่ใช้
  • X = ผลผลิตที่เกิดขึ้น
  • m = ปริมาณการใช้พลังงานที่แปรเปลี่ยนไปตามหน่วยการผลิตหรือดัชนีการใช้พลังงาน
  • C = Fixed Energy คือพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต เช่น การใช้พลังงานของสำนักงาน หรือ พลังงานสูญเสียต่างๆ
  • R ยกกำลัง 2 = Coefficient of Variation หรือ การกระจายตัว (scatter) ของข้อมูลกับเส้น Best fit ซึ่งเป็นค่าที่ใช้บ่งบอกความแม่นยำของสมการ โดยสมการที่สามารถนำมาใช้ วิเคราะห์ได้ควรมีค่า R ยกกำลัง 2 ≥ 0.75

ในการนำกราฟความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและผลผลิตมาใช้งานนั้น ต้องมีการนำค่าพลังงานและผลิตที่จะใช้เป็นค่า Baseline มาทำการสร้างกราฟ จากนั้นนำค่าที่ต้องการวิเคราะห์ Plot ลงไปยังกราฟ Baseline ถ้าค่าที่ plot ลงไปอยู่เหนือเส้นกราฟ Baseline แสดงว่ามีการใช้พลังงานสูงกว่าที่ควรจะเป็น แต่ถ้าอยู่ใต้เส้นกราฟแสดงว่ามีการใช้พลังงานน้อยกว่า Baseline หรือมีการประหยัดพลังงาน

จากนั้นนำค่าความแตกต่างของพลังงานของช่วงที่ต้องการเทียบกับ Baseline ของแต่ละเดือนมาทำการสะสมกัน ตัวอย่างเช่น

  • ค่าความแตกต่างเดือนที่ 1 = +7,335 kWh (เครื่องหมาย + หมายถึงใช้พลังงานสูงกว่า Baseline)
  • ค่าความแตกต่างเดือนที่ 2 = +5,892 kWh

ดังนั้น

  • ผลรวมสะสม ของ 2 เดือน = +13,227 kWh

นำค่าผลรวมสะสมของแต่ละเดือนมา Plot กราฟ โดยเรียกกราฟดังกล่าวว่า CUSUM Chart (Cumulative Sum of Difference Chart) ซึ่งกราฟนี้จะสามารถบอกทิศทางของการใช้พลังงานช่วงที่ต้องการติดตามเทียบกับ Baseline ได้ และสามารถบอกได้ว่ามีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเท่าใดหรือประหยัดพลังงานเท่าใด รวมทั้งยังสามารถบอกได้ว่ามีการใช้พลังงานผิดปกติ (Critical Point) เมื่อใด เพื่อใช้ในการหาสาเหตุที่ผิดปกติดังกล่าว

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_9_2.png

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจสำหรับผู้ที่สนใจในการออกแบบงานระบบประกอบในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการอ้างอิงมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบงานระบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่ได้ดำเนินการออกแบบแล้วมีความครบถ้วน และมีประสิทธิภาพในการออกแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง งานระบบใน

Read More

การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 และ 2 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง” และ “ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง T5 ทดแทนหลอดขนาด T8” โดยการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน การรับประกันหลอดไฟ หรือ Ballast และความเหมาะสมขอ

Read More

วิธีการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับหอผึ่งน้ำ ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น กราฟแสดงค่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกเฉลี่ยรายชั่วโมงแต่ละเดือนของกรุงเทพมหานคร การเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสม (Cooling tower optimization) วิธีนี้คือการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้สามารถทำอุณหภูมิน้ำด้านออกได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิกระเปาะเ

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า