โดยทั่วไปการใช้พลังงานของโรงงานจะแปรผันตามปริมาณผลผลิต ซึ่งสามารถนำความสัมพันธ์ดังกล่าวมาใช้ในการตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานได้ โดยเรียกชื่อกราฟในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและผลผลิตนี้ว่า Scatter Diagram กราฟนี้จะ Plot ข้อมูลโดยให้แกนตั้งเป็นปริมาณพลังงานและแกนนอนเป็นปริมาณผลผลิต แล้วหาสมก
ในการใช้พลังงานโดยทั่วไป ระบบทำน้ำเย็น (Chiller Plant) เป็นระบบหนึ่งที่มีการใช้พลังงานอยู่ในสัดส่วนที่สูง ซึ่งการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพหรือการมองหาโอกาสในการประหยัดพลังงานของระบบ สามารถปรับปรุงได้โดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งใน 7 วิธีการที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่
- ปรับปรุงการตั้งค่า set point ของอุณหภูมิน้ำเย็นและน้ำหล่อเย็น (Reset Chilled and Condenser Water Temperatures)
- ปรับปรุงการใช้งานเป็นแบบ Variable Primary System (Convert to Variable Primary System)
- ติดตั้ง VSD สำหรับเครื่องทำน้ำเย็นแบบหอยโข่ง (Add VSDs to Centrifugal Chillers)
- ปรับปรุงชุดควบคุมให้ทันสมัย(Modernize Chiller Control)
- ติดตั้งระบบ Chiller Plant Automation (Add Chiller Plant Automation)
- เปลี่ยนชุดขับ Compressor (Retrofit Chiller with a New Compressor-Motor Driveline)
- เปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็น (Replace Chillers)
Method 1: Reset Chilled and Condenser Water Temperatures
หลักการโดยทั่วไปของวิธีนี้คือ การปรับตั้งค่าอุณหภูมิน้ำเย็นด้านออก Chiller (Leaving Chilled Water Temperature) ให้สูงขึ้น หรือ ตั้งค่าอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นด้านเข้า Condenser (Entering Condenser Water Temperature) ให้ต่ำลง ซึ่งในการตั้งค่าอุณหภูมิน้ำเย็นออก Chiller ให้สูงขึ้นทุก 1 oFจะสามารถประหยัดพลังงานได้ 0.5% – 0.75% (Operation Load 40% – 80%)ในส่วนของการปรับตั้งค่าอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นด้านเข้า Condenser ให้ต่ำลงทุก 1 oFจะสามารถประหยัดพลังงานได้ 1.5% (Full Load Operation) ทั้งนี้วิธีการข้างต้นจะใช้ผลดีก็ต่อเมื่อน้ำเย็นและน้ำหล่อเย็นของ Chiller ทำงานในลักษณะอัตราการไหลที่คงที่ (Constant Speed) และเป็น Chiller ชนิดหอยโข่ง (Centrifugal Compressor)
Method 2: Convert to Variable Primary System
วิธีนี้เป็นการปรับการทำงานของ Chiller ในกรณีที่มี Chiller มากกว่า 1 ตัว เช่น มี Chiller ขนาด 500 ตัน จำนวน 2 ตัว และมีความต้องความเย็นอยู่ที่ 800 ตัน โดยที่วิธีการให้ Chiller ตัวที่ 1 ทำงานที่ 500 ตัน และ Chiller ตัวที่ 2 ทำงานที่ 300 ตัน ซึ่งวิธีการปรับการทำงานของ Chiller ดังกล่าวจะช่วยให้ระบบ Chiller มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 15% ประหยัดพลังงานได้มากถึง 25%
Method 3: Add VSDs to Centrifugal Chillers
การ ติดตั้ง VSDกับ Chiller จะทำหน้าที่ในการปรับการทำงานของ Chiller ให้เหมาะสมกับความต้องการ เช่น Chiller 700 ตัน แต่ความต้องการใช้งานอยู่ที่ 400 ตัน VSD ก็จะปรับการทำงานของ Chiller ให้เหมาะสมกับความต้องการที่ 400 ตัน ทำให้ใช้พลังงานในการเดินเครื่องน้อยลง การติดตั้ง VSD กับ Chiller สามารถประหยัดพลังงานได้ 30% ต่อปี
นอกจากนี้สามารถเรียกระบบปรับอากาศที่มีการติดตั้ง VSD ได้อีกชื่อหนึ่งว่า Soft Start Chiller ซึ่งทำให้การ Start เครื่องเป็นไปอย่างนุ่มนวล จะไม่มีกระแสเกินในการ Start เครื่อง
หมวดหมู่:
จากการที่ได้ผมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเขียว ตามเกณฑ์ของ US Green Building Council ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) มาหลายโครงการทำให้พบว่าถึงแม้เกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการแบ่งประเภทของอาคารเขียวว่า มีการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างก
จาก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บุคคลหรือนิติบุคคล (ผู้ตรวจสอบพลังงาน) ที่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงาน