https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_16_1.png

ระบบเสียงประกาศในระดับ Enterprise จะมีการทำงานแบบอิสระทั้ง Input ( Microphone, Music, Event sound) และ Output (Speaker Zone) โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดและตั้งค่าการทำงานให้เสียงใดๆ ออกไปดัง ณ โซนใดๆ ได้อย่างอิสระ ณ เวลาเดียวกัน โดยไม่รบกวนกัน (Matrix Channel) การควบคุมการทำงานสามารถใช้งานได้โดยง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส และระบบมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับการขยายระบบได้โดยง่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 ใช้สินค้าที่เป็น Worldwide ที่ออกแบบมาสำหรับงานระบบทั้ง System โดยเฉพาะ

ระบบดังกล่าวนี้จะเป็นการออกแบบระบบทั้งหมด หมายถึงตั้งแต่ไมโครโฟน , Sound Controller, Amplifier, Volume Control และ ลำโพงเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกันทั้งระบบมีการทดสอบการใช้งานหรือทำงานร่วมกันมา จากโรงงานผู้ผลิตและมีสินค้าดังกล่าวขายไป ทั่วโลก โดยมี Website ให้บริการ Download ทั้ง Catalog, Manual, Firmware และคำปรึกษาในการใช้งานหรือแก้ปัญหาตลอดเวลา รวมทั้งในประเทศต่างๆ ก็จะมีสำนักงานของบริษัทผู้ผลิตตั้งอยู่พร้อมศูนย์บริการและตัวแทนจำหน่าย

โดยมีข้อดีในการใช้งาน ดังนี้

  • มีตัวแทนขายหลายรายสามารถให้ บริการได้ถึงแม้ Supplier ที่ขายระบบไม่อยู่ผู้ใช้งานยังสามารถเรียกใช้บริการจากรายอื่นๆ ได้ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่สินค้าดังกล่าวหมดประกันจากผู้รับเหมาไปแล้ว
  • มีเอกสารและวิชาการที่บ่งชี้ได้ว่าอุปกรณ์ทั้งระบบสามารถใช้งานร่วมกันได้เป็นสากล
  • สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงและคุณสมบัติได้จาก Website ของผู้ผลิตในการใช้งานร่วมกันเป็นระบบ
  • ระบบมีเถียรภาพที่สูงทำงานได้ตลอด 24/7 วัน โดยระบบเป็น Hardware ทั้งหมดสามารถใช้งานได้ง่ายแบบ Plug and Play
  • ราคาสินค้าโดยรวม/ ระบบ ไม่แพง
  • สามารถขยายระบบเพิ่มขึ้นได้โดยมี Function การทำงานสมบูรณ์เช่นเดิมทุกประการ
  • สามารถ ใช้งานได้ง่ายโดยผู้ใช้สามารถเลือกประกาศ, เลือกโซน, เลือก Music Source ใดๆ ให้ดังไปที่โซนใดๆ, ปรับเพิ่ม-ลดความดังเสียงในแต่ละโซน, Emergency โดยทั้งหมดนี้สามารถกดเลือกได้ที่ปุ่มที่ฐานของไมโครโฟนแต่ละตัวได้โดยตรง
  • สามารถ ต่อไมโครโฟนเพื่อตรวจสอบความดังเสียงของ Noiseในพื้นที่แล้วส่งกลับมายังเครื่องขยายเสียงเพื่อคำนวณความดัง เฉลี่ยนในพื้นที่จากนั้นเครื่องขยายเสียงสามารถที่จะเพิ่มกำลังขับเร่งความ ดังออกไปยังพื้นที่ดังกล่าวได้แบบอัตโนมัติได้

อย่างไรก็ดีระบบเสียงในแบบที่ 1 มีข้อเสียคือ กรณีสินค้าเสียต้องซ่อม จะมีการนำส่งเครื่องคืนยังศูนย์ซ่อมของผู้ผลิตซึ่งบางครั้งอาจต้องส่งต่าง ประเทศซึ่งอาจต้องใช้เวลา แต่ทางผู้บริการจะมีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างซ่อมเสมอ

แบบที่ 2 ใช้สินค้าที่เป็นหลากหลายผลิตภัณฑ์มาใช้งานร่วมกันร่วมกันเฉพาะงาน

เป็นการออกแบบหรือคัดหาสินค้าจากหลากหลายผลิตภัณฑ์มาใช้งานร่วมกัน โดยอ้างอิงการทำงานให้ใกล้เคียงตามแบบที่ 1 โดยผู้จัดหาเฉพาะเพียงรายเดียว ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ประกอบกันเป็นระบบจะมาจากหลากหลายผลิตภัณฑ์หรือทำขึ้นเอง (ขึ้นอยู่กับการจัดหาของผู้จัดหารายนั้นๆ ในแต่ละโครงการ) ซึ่งไมโครโฟน Sound Controller, Amplifier, Volume Control, Speaker โดยส่วนใหญ่จะเป็นคนละยี่ห้อกัน และมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาต่อใช้งานร่วมกับ Sound Controller แทนการกดปุ่มเลือก โซนที่ไมโครโฟน (ใช้ Software ที่เขียนขึ้นมาเฉพาะโครงการแทน Hardware)

ซึ่งระบบดังกล่าวนี้จะพยายามในการสร้างระบบให้ใกล้เคียงการทำงานของแบบที่ 1 แต่อย่างไรก็ดีระบบ จะมีข้อเสีย ดังนี้

  • สินค้า ที่ประกอบกันขึ้นมาจากหลากหลายผลิตภัณฑ์ไม่มี Supplier โดยตรงของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้คำปรึกษาในการใช้งานหรือกรณีมีปัญหาได้ ต้องสอบถามจากผู้ขายระบบเพียงผู้เดียวเท่านั้น
  • ไม่มีมีเอกสารและวิชาการที่บ่งชี้ได้ว่าอุปกรณ์ทั้งระบบสามารถใช้งานร่วมกันได้เป็นสากล มีเพียงการยืนยันจากผู้ขายเท่านั้น
  • ไม่สามารถสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงและคุณสมบัติได้จาก Website ของผู้ผลิตในการใช้งานร่วมกันเป็นระบบ
  • ระบบ ไม่มีเถียรภาพในการทำงานโดยระบบเป็น Hardware+ Software และอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน ไม่เหมาะกับการเปิดใช้งานตลอดเวลา และมีโอกาศที่เครื่องจะติด Virus สูง
  • ราคาสินค้าโดยรวม/ ระบบ แพงเพราะเป็นระบบเฉพาะที่รวมกันขึ้นเฉพาะโครงการ
  • สามารถขยายระบบเพิ่มขึ้นได้แต่มีข้แจำกัดรวมทั้งโดยมี Function การทำงานจะไม่สมบูรณ์เช่นเดิมทุกประการ
  • การใช้งานคำสั่งไมโครโฟนต้องอาศัยการเลือกคำสั่งจากหน้าจอ Computer ช่วย
  • ไม่ สามารถต่อไมโครโฟนเพื่อตรวจสอบความดังเสียงของ Noiseในพื้นที่แล้วส่งกลับมายังเครื่องขยายเสียงเพื่อคำนวณความดังเฉลี่ยนใน พื้นที่จากนั้นเครื่องขยายเสียงสามารถที่จะเพิ่มกำลังขับเร่งความดังออกไป ยังพื้นที่ดังกล่าวได้แบบอัตโนมัติได้

อย่างไรก็ดีระบบที่ 2 นี้จะมีข้อดีคือสามารถสร้างคำสั่งหรือเขียน Program ตามความต้องการของผู้ซื้อได้ (กรณีผู้ซื้อมีความต้องการ Function พิเศษที่สากลไม่ใช้)

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยปกติโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้เชื้อเพลิง หรือใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต มักจะมีความร้อนเหลือทิ้ง เช่นความร้อนจากไอเสียของเตาเผา , ความร้อนจากไอเสียของ Boiler และความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศ ซึ่งการนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์จะช่วยให้สามารถลดการใช้พ

Read More

ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในกา

Read More

โดยทั่วไปการใช้พลังงานของโรงงานจะแปรผันตามปริมาณผลผลิต ซึ่งสามารถนำความสัมพันธ์ดังกล่าวมาใช้ในการตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานได้ โดยเรียกชื่อกราฟในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและผลผลิตนี้ว่า Scatter Diagram กราฟนี้จะ Plot ข้อมูลโดยให้แกนตั้งเป็นปริมาณพลังงานและแกนนอนเป็นปริมาณผลผลิต แล้วหาสมก

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า