จาก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บุคคลหรือนิติบุคคล (ผู้ตรวจสอบพลังงาน) ที่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงาน
วิธีการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับหอผึ่งน้ำ ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น
กราฟแสดงค่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกเฉลี่ยรายชั่วโมงแต่ละเดือนของกรุงเทพมหานคร
- การเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสม (Cooling tower optimization) วิธีนี้คือการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้สามารถทำอุณหภูมิน้ำด้านออกได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet bulb temperature) มากที่สุด เป็นต้น
- การปรับปรุงประสิทธิภาพหอผึ่งน้ำให้มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อนดีขึ้น เช่น การเปลี่ยน Filler การปรับอัตราการไหลให้เหมาะสม การปรับเปลี่ยนทิศทางให้สอดคล้องกับทิศทางของลม การปรับมุมของใบพัดให้กินลมมากขึ้น การเปลี่ยนชนิดหอผึ่งน้ำ เป็นต้น
- การปรับปรุงคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เช่น การติดตั้งระบบ Automatic bleed off การติดตั้งระบบ Ozone generator การติดตั้งระบบ silver copper การใช้สารเคมีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
- การปรับปรุงอุปกรณ์ต้นกำลัง เช่น การเปลี่ยนใบพัดจากชนิดอลูมิเนียมเป็น Fiber glass การติดตั้ง VSD (Variable speed drive) ที่ Fan motor หรือที่ Condenser water pump การเปลี่ยนชุดขับของ Fan motor จากสายพานเป็นเกียร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีไหนในการอนุพลังงาน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือควรจะมีการตรวจวัดเพื่อประเมินผลประหยัดที่จะได้ก่อนดำเนินการปรับปรุง เนื่องจากบางวิธีอาจะไม่คุ้มค่าในการลงทุนถ้าปัจจุบันมีการดูแลรักษาหอผึ่งน้ำดีอยู่แล้ว จากวิธีการอนุรักษ์พลังงานด้านบนเรามาดูตัวอย่างการปรับปรุงการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสมกับอุณหภูมิกระเปาะเปียก เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีการดำเนินงานที่ง่ายที่สุด เห็นผลการประหยัดชัดเจน แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าหลายๆ ที่มักไม่ค่อยให้ความสนใจกับวิธีนี้ ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจหรือไม่ใส่ใจในการปรับปรุงก็เป็นได้
ตัวอย่าง อาคารแห่งหนึ่งเปิดใช้งานเครื่องทำน้ำเย็นขนาด 800 ตัน จำนวน 2 ชุด และเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำขนาด 1,000 ตัน จำนวน 2 ชุด อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเข้าหอผึ่งน้ำ 94.3 oF อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นออกจากหอผึ่งน้ำ 85.1 oF ขณะที่อุณหภูมิกระเปาะเปียกเท่ากับ 75.1 oF กำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องทำน้ำเย็นเท่ากับ 989.5 kW กำลังไฟฟ้าของ Fan motor ของหอผึ่งน้ำเท่ากับ 43.2 kW รวม 1,032.7 kW
ประสิทธิภาพการระบายความร้อน = 94.3 – 85.1 / 94.3 – 75.1 = 0.4792 หรือ 47.92%
ปรับปรุงโดยการเปิดหอผึ่งน้ำขนาด 1,000 ตัน เพิ่มอีก 1 ชุด โดยไม่เปิด Condenser water pump ปรากฏว่าอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นเข้าหอผึ่งน้ำเท่ากับ 89.2 oF และออกเท่ากับ 81.2 oF กำลังไฟฟ้ารวมของเครื่องทำน้ำเย็นเท่ากับ 934.2 kW กำลังไฟฟ้าของ Fan motor ของหอผึ่งน้ำเท่ากับ 64.4 kW (เพิ่มขึ้นจากการเปิดหอผึ่งน้ำเพิ่ม21.2 kW) รวม 968.6 kW ผลการดำเนินการแสดงดังรูป
กราฟแสดงผลการปรับปรุงการเปิดหอผึ่งน้ำเพิ่มขึ้น
ประสิทธิภาพการระบายความร้อน = 89.2 – 81.2 / 89.2 – 75.1 = 0.5674 หรือ 56.74%
กำลังไฟฟ้าที่ลดลง = 1,032.7 – 968.6 = 64.1 kW
อาคารเปิดใช้งาน 10 ชั่วโมงต่อวัน และ 250 วันต่อปี ต้นทุ้นค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3.50 บาท/kWh ดังนั้นสามารถประหยัดพลังงานได้ = 64.1 kW x 10 hr/day x 250 day/yr = 160,250 kWh/yr หรือ = 560,875 บาท/ปี
จากการดำเนินการดังตัวอย่างจะเห็นว่าการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำตามค่าที่ออกแบบไว้นั้นอาจจะไม่ใช้จุดที่ดีที่สุดสำหรับการประหยัดพลังงาน แต่ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าวผู้ Operate จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการสังเกตุและคำนวณเพราะถ้าบางครั้งเปิดจำนวนหอผึ่งน้ำมากเกินไปก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานได้เช่นกัน
หมวดหมู่:
ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบสัญญาณภาพจากกล้อง Analog โดยใช้ระบบบันทึกภาพแบบ DVR (digital Video Recorder) และแบบสัญญาณกล้องเป้น IP แล้วใช้ชุดบันทึกภาพแบบ NVR (Network VDO Recorder) โดยทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันดังนี้ 1. ระบบ DVR ระบบ DVR จะรับสัญญาณภาพจากกล้องที่มีการประมวลผลแบบ Digit
การออกแบบระบบสูบน้ำระบบเปิด เช่น การสูบน้ำหล่อเย็นของระบบระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็นแบบศูนย์รวม (Chiller) หากค่าอัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นสูงเกินกว่าค่าพิกัดใช้งาน ก็สามารถลดค่าอัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นลงได้โดยการติดตั้ง VSD แต่ต้องพิจารณาถึงแรงดันของน้ำหล่อเย็น (Head) ด้วยว่า เมื่อลดอัตราการไห