ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในกา
อาคารสำนักงานในปัจจุบันนั้น เป็นสถานที่ที่ผู้คนหลายคนใช้เวลาเกือบทั้งวันอยู่ในอาคาร บางทีอาจจะมากกว่าอยู่ในบ้านพักอาศัยด้วยซ้ำ หลายอาคารในอดีตได้ก่อสร้างโดยละเลยความสำคัญของผู้ใช้งานในอาคาร ทำให้เกิดโรคเจ็บป่วยจากการใช้งานอาคาร (Sick Building Syndrome)ได้แก่ การเหนื่อยล้าง่าย ง่วง สมองไม่ปลอดโปร่ง หรือ เกิดความเครียดสะสม เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ พนักงานมีโอกาสลาป่วยบ่อย และมีจำนวนชั่วโมงทำงานน้อยลง ทำให้องค์กรเสียประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ไป
สภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐ US Green Building Ceuncil, (USGBC) ซึ่งเป็นองค์กรที่ริเริ่มในการแก้ปัญหาจากการใช้อาคารในภาพรวม จึงได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวแบบ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และกำหนดเกณฑ์การประเมินแบบต่างๆ มาเพื่อให้เหมาะสมกับอาคารแต่และประเภท ได้แก่ อาคารก่อสร้างใหม่ NC (New Construction & Major Renovations) อาคารเดิมที่มีการใช้งานอยู่ EBOM (Existing Buildings : Operations & Maintenance) อาคารประเภท Core & Shell Development ไปจนถึงอาคารประเภทอื่นๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ในต่างประเทศ แล้วว่าทำให้ผู้ใช้งานอาคารมีความสุขจากการใช้งานอาคารมากขึ้น ชั่วโมงการทำงานมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น แลอาคารมีการประหยัดพลังงานและทรัพยากรมากขึ้นทางเอสซีจี (SCG) ซึ่งเป็นองค์การชั้นนำในระดับโลกของประเทศไทย จึงได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาอาคารตามแนวทางอาคารเขียว และด้วยความที่องค์กรเป็นผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับ ซิเมนต์ วัสดุก่อสร้างผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และกระดาษ ดังนั้นจึงมีความเชี่ยวชาญด้านเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆ ด้านอาคารเขียวมานาน ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้ฉลากเขียวไทยหรือฉลาก Eco Value ของทาง SCG มีเป็นจำนวนมาก จนถึงการที่ SCG ได้ดำเนินการปรับปรุง อาคารสนญ 1, 2 และอาคาร 5 จนได้รับการประเมินจากUSGBC ในระดับ PLATINUM ในประเภท อาคารเดิมEBOM เป็นรายแรกในอาเซียนเมื่อทาง SCG ได้มีนโยบายในการ ก่อสร้างอาคารสนญ 3 จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการให้ ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ LEED ในระดับ PLATINUM ให้ได้ ดังนั้น ทางกลุ่มบริษัทผู้ออกแบบจึงได้ร่วมกัน ออกแบบ พัฒนา และกำหนดมาตรการต่างๆ ที่จำเป็น แลเหมาะสมต่อการลงทุนอย่างพอเพียงให้แก่โครงการ จนทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้รับการรับรองในระดับ PLATINUM ประเภท Core & Shell ด้วยคะแนนถึง 85 Credits จาก USGBCเมื่อเดือนมกราคม 2557 โดยมาตรการต่างๆ สามารถอธิบายให้สอดคล้องกับเกณฑ์ LEED ได้ดังนี้
1. SUSTAINABLE SITES (26 Credits)
1.1 Construction Activity Pollution
Prevention การดำเนินการก่อสร้างที่ป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการออกแบบได้กำหนดให้ ผู้รับเหมาจะต้องป้องกันหน้าดิน และบริหารจัดการขยะระหว่างก่อสร้าง ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ในการดำเนินมาตรการนี้ ทาง SCG เองได้ให้ความสำคัญ โดยร่วมประชุมและตรวจสอบข้อมูลร่วมกับผู้บริหารโครงการอยู่เสมอ ทำให้การดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เป็นไปได้อย่างดี
1.2 Alternative Transportation การจราจรทางเลือก
นอกจากการก่อสร้างอาคารใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าแล้ว ได้มีการออกแบบที่จอดรถจักรยานจำนวนมากรวมถึงห้องอาบน้ำ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานเดินทางด้วยจักรยาน อันจะทำให้ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและช่วยให้สุขภาพแข็งแรงนอกจากนี้ได้กำหนดให้มีช่องจอดสำหรับรถประหยัดพลังงาน เช่น HYBRIDเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัด
1.3 Site Development-Maximize Open Space การพัฒนาโครงการเพื่อเพิ่มพื้นที่เปิดโล่ง
ทางโครงการได้เน้นในการพัฒนาโครงการในแนวตั้งเพื่อลด Footprint ของอาคาร และ เพิ่มพื้นที่เปิดโล่งโดยรอบอาคาร ด้วยพื้นที่สวนและบ่อน้ำ เพื่อให้โดยรอบอาคารมีสภาพแวดล้อมที่ดี สวยงาม และร่มรื่น
1.4 Stormwater Design การบริหารจัดการน้ำฝน
ได้มีการออกแบบบ่อเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ เพื่อลดผลกระทบต่อทางระบายน้ำสาธารณะ และยังออกแบบให้นำน้ำฝนไปใช้ซ้ำในโครงการเป็นการลดการใช้น้ำประปาและลดภาระของโรงประปา ลดการใช้สารเคมีได้อีกทางหนึ่ง
1.5 Heat Island Effect การลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน
ด้วยการออกแบบให้ช่องจอดรถทั้ง 100% อยู่ในอาคาร หรือใต้ร่มไม้ เพื่อลดการสะสมและแผ่รังสีความร้อน จากรถยนต์เข้าสู่อาคาร ทำให้บริเวณโดยรอบอาคารมีสภาวะที่เย็นสบาย
1.6 Light Pollution Reduction การลดผลกระทบจากแสงสว่าง
ในเกณฑ์ข้อนี้ ถือได้ว่าเป็นเกณฑ์ที่ยากพอสมควรเนื่องจาก หลายโครงการต้องการพัฒนาอาคารให้มีความโดดเด่น และปลอดภัยด้วยแสงสว่างในเวลากลางคืน แต่จะกลายเป็นการทำให้พื้นที่โดยรอบถูกรบกวนด้วยแสงสว่าง อาคารเอสซีจี 100 ปี ให้ความสำคัญทางด้านพลังงานควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัยบริเวณรอบๆ โครงการ จึงได้ออกแบบให้แสงสว่างจากอาคาร แสงสว่างจากเปลือกอาคาร (Facade) รวมถึงแสงสว่างในพื้นที่สวน (Landscape) มีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ด้วยการออกแบบให้ไฟแสงสว่างอย่างพอเพียง เลือกใช้โคมประสิทธิภาพสูง เช่น LED รวมถึงการควบคุมการเปิด-ปิดไฟแสงสว่างด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อให้มั่นใจว่าค่าการส่องสว่างจะไม่รบกวนพื้นที่โดยรอบจนเกินไป
2. WATER EFFICIENCY (13 Credits)
2.1 Water Efficient Landscaping การออกแบบระบบรดน้ำต้นไม้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในหัวข้อนี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่การประสานงานกับภูมิสถาปนิกในการเลือกพืชพันธ์ุท้องถิ่นที่ต้องการการรดน้ำน้อย สามารถเติบโตได้ตามธรรมชาติจากนั้นในส่วนที่เหลือ จึงกำหนดให้ออกแบบวิธีการรดน้ำต้นไม้ด้วยระบบหยดร่วมกับการใช้น้ำ Recycle และน้ำฝนที่เก็บกักไว้ในการรดน้ำต้นไม้ ทำให้ไม่ต้องใช้น้ำประปาในการรดน้ำต้นไม้เลย
2.2 Innovative Wastewater Technologies
การลดการใช้น้ำประปาในการชำระล้างสุขภัณฑ์ด้วยการออกแบบบ่อบำบัดน้ำเสียแบบใช้ซ้ำ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การแยกท่อน้ำเสียและท่อน้ำโสโครกมาบำบัดแยกต่างหากจึงสามารถนำน้ำจากอ่างล้างหน้าไปใช้ชักโครกซ้ำได้นอกจากนี้การมีบ่อเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ก็ยังช่วยเก็บน้ำไว้ใช้ชักโครกเพิ่มได้อีกด้วย คิดเป็นการประหยัดน้ำประปาได้มากกว่า 60% ของประมาณการใช้น้ำทั้งปี
2.3 Water Use Reduction การลดการใช้น้ำ
ด้วยความที่ SCG เป็นผู้จำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์และมีประสบการณ์การเลือกใช้สุขภัณฑ์ในโครงการLEED EBOM ของอาคาร สนญ 1, 2 มาก่อน ดังนั้น สุขภัณฑ์ที่เลือกใช้ จึงไม่ได้คำนึงถึงการประหยัดน้ำอย่างที่สุดเพียงด้านเดียว แต่ยังต้องคำนึงถึงอุปนิสัยของคนไทยที่เคยชินกับการใช้น้ำด้วย ดังนั้นสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำที่เลือกจึงให้ปริมาณน้ำอย่างเหมาะสม ไม่น้อยเกินไปทำให้คนใช้งานเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นจึงได้เลือกสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำที่เหมาะสมและสามารถประหยัดน้ำประปาได้รวม 33.37% เทียบกับมาตรฐานสหรัฐ และเมื่อคำนวณรวมกับการใช้น้ำซ้ำ จาก Grey Water, Black Water, Rain Water แล้ว ทางโครงการจะประหยัดน้ำประปาได้ถึง 60% ทำให้ลดภาระของท่อประปาจากโรงกรองน้ำไปได้มาก ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนได้
3. ENERGY AND ATMOSPHERE(27 Credits)
3.1 Fundamental Commissioning of Building Energy Systems การปรับสมดุลของระบบพลังงานในอาคาร
เพื่อให้มั่นใจว่าอาคารใช้พลังงานได้เหมาะสมตามที่เจ้าของอาคารและผู้ออกแบบต้องการ จึงต้องมีการว่าจ้าง Commissioning Authority (CxA) ซึ่งเป็นบริษัทต่างหาก มาดำเนินการตรวจสอบข้อกำหนด และควบคุมการปรับแต่งระบบที่ใช้พลังงานให้ใกล้เคียงกับความต้องการและค่าออกแบบ การดำเนินการด้วยวิธีนี้ ยังเป็นการช่วยให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับสมดุลระบบเพราะแม้จะออกแบบและติดตั้งระบบต่างๆ ไว้อย่างดีเพียงใด แต่หากขาดการปรับสมดุลที่ครบถ้วนแล้ว ระบบก็ไม่อาจทำงานในจุดที่ประหยัดพลังงานที่สุดได้
3.2 Optimize Energy Performanceประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เหมาะสม
เป็น หมวดที่มี คะแนนมากที่สุด เนื่องจากเรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด หากอาคารใดสามารถประหยัด “ค่าไฟ” ได้มากก็จะเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมได้มาก การที่ข้อกำหนดของ LEED กำหนดให้ประหยัด “ค่าไฟ” แทนที่จะเป็น “พลังงาน” ก็ด้วยระบบค่าไฟในเกือบทุกประเทศจะมีการกำหนด Peak Demand Charge, On Peak Rate, Off Peak Rate เพื่อส่งเสริมให้คนใช้พลังงานในช่วงเวลาที่ไม่พร้อมกัน ทำให้ชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ เพียงเพื่อมารองรับ Peak Demand ได้ การจะประหยัดพลังงาน และประหยัดค่าไฟให้ได้มากนั้น จะต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบร่างอาคารเลย และจะต้องเกี่ยวพันกับผู้ออกแบบหลายราย โดมาตรการต่างๆ ที่ได้นำมาปรับใช้ ได้อิงตามมาตรฐาน ASHRAE 90.1-2007 ดังนี้
3.2.1 Building Envelope เปลือกอาคาร
การออกแบบอาคารในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทยนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยประหยัดพลังงานให้แก่อาคารคือ การมีเปลือกอาคารที่ดี ป้องกันความร้อนที่จะเข้าไปเป็นภาระแก่ระบบปรับอากาศ อาคารเอสซีจี 100 ปีจึงได้มีการศึกษาถึงวิธีการท่จี ะป้องกันความร้อนให้แก่อาคารให้ได้มากที่สุดโดยที่ ยังคงความเปิดโล่งของช่องหน้าต่างไว้ได้ จึงได้วางแบบร่วมกับสถาปนิกในการกำหนดให้ผนังอาคารมีช่องกระจกไม่เกิน 40% และ เลือกใช้กระจกชนิด Insulated Glass Unit (IGU) เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาได้อย่างพอเพียง แต่ป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่อาคารด้วยก๊าซเฉื่อยระหว่างแผ่นกระจก นอกจากนี้ผนังอาคารในส่วนทึบยังก่อด้วยอิฐมวลเบาเพื่อป้องกันความร้อนอีกชั้นหนึ่งด้วย ทำให้อาคารมีค่าการถ่ายเทความร้อนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก คือ 25 W/sq.m. จากกฎหมายระบุ 50 W/sq.m. นอกจากนี้ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร SCG ที่ต้องการให้อาคารมีแสดงถึงการคิดนอกกรอบ การเพิ่มระเบียงโดยรอบอาคารในทุกชั้น นอกจากจะเพิ่มพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจแล้ว ยังช่วยในการบังแดดให้แก่อาคารด้วย
3.2.2 Air Conditioning ระบบปรับอากาศ
ระบบปรับอากาศถือว่าเป็นระบบที่ใช้พลังงานมากที่สุด หรือเกือบ 60% ของการใช้พลังงานในอาคาร ดังนั้นการออกแบบระบบปรับอากาศให้ดี ให้ประหยัดพลังงานจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของอาคารเขียวอาคารเอสซีจี 100 ปี ได้ออกแบบโดยเลือกใช้มาตรการประหยัดพลังงานต่างๆ เช่น เครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูง (Hi-Efficiency Chiller) ระบบปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable Speed Drive – VSD) สำหรับเครื่องสูบน้ำเย็น เครื่องสูบน้ำระบายความร้อน หอระบายความร้อน เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างอากาศสู่อากาศ (Air to Air Heat Exchanger) มอเตอร์ ประสิทธิภาพสูง (Hi-Efficiency Motor) และระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (Building Automation System – BAS) เพื่อให้การใช้พลังงานอยู่ในระดับต่ำ
3.2.3Chilled Water Storage Tank ระบบผลิตและเก็บน้ำเย็น
เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงานในช่วง Peak ของประเทศไทย และเป็นการลด “ค่าไฟ” ของโครงการ จึงได้มีการออกแบบระบบผลิตและเก็บน้ำเย็นขึ้น เพื่อผลิตน้ำเย็นในเวลากลางคืนที่มีค่าไฟถูก และสูบน้ำเย็นออกมาใช้งานในเวลากลางวันที่มีค่าไฟแพง มาตรการนี้ แม้จะมีระยะเวลาการคืนทุนที่ยาวนาน เพราะความแตกต่างระหว่างค่าไฟช่วง On Peak และ Off Peak ไม่มาก แต่เพื่อเป็นการช่วยลด Peak ของประเทศลดการเพิ่มโรงไฟฟ้า จึงเป็นมาตรการที่ทางโครงการตัดสินใจดำเนินการ เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
3.2.4Lighting ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
ภายในอาคารสำนักงานนอกจากจะต้องมีความสว่างอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการทำงานแล้วการใช้พลังงานก็จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดีด้วย เนื่องจาก SCG มีนโยบายสนับสนุนการใช้หลอดไฟ T5 ดังนั้นหลอดไฟ Fluorescent ในอาคารจึงเป็นชนิด T5 ทั้งหมด นอกจากนี้ทางผู้ออกแบบยังได้กำหนดให้มีระบบควบคุมแสงสว่างตามแสงธรรมชาติ (Day Light Sensor & Lighting Control) เพื่อให้หลอดไฟริหน้าต่างหรี่ไฟลงในกรณีที่ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอแล้ว มีระบบตรวจจับการใช้งาน (Occupancy Sensor) เพื่อหรี่ไฟในกรณีที่ไม่มีผู้ใช้งาน ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟจากส่วนกลาง และ ตั้งเวลา รวมไปจนถึงการแยกวงจรเป็นพื้นที่ย่อยๆ ตามแผนก เพื่อให้พนักงานแต่ละกลุ่มสามารถเปิด-ปิดไฟเองได้ในกรณีออกไปประชุม หรือทำงานล่วงเวลา เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานของพนักงาน
3.3 On-Site Renewable energy การใช้พลังงานทดแทน
เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในโครงการ ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทางโครงการจึงได้กำหนดให้มี Solar PV Cell ที่หลังคาอาคารจอดรถขนาดกว่า 80 kWp เพื่อผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจ่ายไฟฟ้าของอาคารโดยตรง คิดเป็นการใช้พลังงานทดแทนประมาณ 1.83% ของค่าไฟต่อปีของโครงการจากมาตรการทางด้านการประหยัดพลังงานทั้งหมด ทำให้อาคารเอสซีจี 100 ปี สามารถประหยัดการใช้พลังงานได้ถึง 28.32 % และสามารถประหยัดค่าไฟลงได้ถึง 32.45 % เทียบกับอาคารที่ก่อสร้างตามมาตรฐานประเทศสหรัฐ ASHRAE 90.1-2007
4. MATERIALS & RESOURCES(7 Credits)
4.1 Storage and Collection of Recyclables การคัดแยกขยะ
โครงการได้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง จากนั้นจึงนำมาเก็บในห้องเก็บขยะแยกประเภท เพื่อที่จะสามารถแยกขยะนำไป Recycle ได้รวดเร็วขึ้น เป็นการลดการผลิตวัสดุใหม่ๆ จากธรรมชาติ
4.2 Regional Materials การใช้วัสดุที่ผลิตได้ในท้องถิ่น
เนื่องจาก SCG เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ดังนั้นในโครงการนี้นอกจากจะเป็นการสนับสนุนการใช้วัสดุท้องถิ่น เพื่อลดการขนส่งด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว ยังถือเป็นการได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ในเครือให้ได้มากที่สุดในอาคารจริง ในขั้นตอนการออกแบบได้มีการพิจารณาวัสดุและคุณสมบัติอย่างละเอียด ทำให้สามารถลดการใช้วัสดุจากต่างประเทศได้มากเช่น โลหะ อลูมิเนียม โดยได้เลือกใช้ท่อพลาสติก ซิเมนต์ ทดแทน ซึ่งช่วยลดการนำเข้าได้มาก
5. INDOOR ENVIRONMENTAL QUALITY (7 Credits)
5.1 Increased Ventilation การเพิ่มปริมาณการระบายอากาศ
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอากาศภายในอาคารจะมีคุณภาพที่ดีเกินกว่ามาตรฐาน ASHRAE 62.1-2007จึงกำหนดให้มีการเติมอากาศบริสุทธิ์มากกว่ามาตรฐานอีก 30% โดยอากาศภายนอกที่นำเข้ามาจะถูกแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยเครื่อง Air to Air Heat Exchanger ก่อนเพื่อลดความชื้นและฝุ่นก่อนจ่ายเข้าสู่พื้นที่ปรับอากาศนอกจากนี้ยังมีการควบคุมการจ่ายอากาศบริสุทธิ์ตามการใช้งานในอาคาร (Demand Control Ventilation)เพื่อการประหยัดพลังงาน แต่ยังคงรักษาระดับ CO2 ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 400 – 800 ppm ได้ตลอดเวลา
5.2 Low-Emitting Materials การใช้วัสดุที่มีสารระเหยต่ำภายในอาคาร
ในอาคารเอสซีจี 100 ปี ได้มีการเจาะจงใช้วัสดุที่มีสารระเหยต่ำ ได้แก่ Adhesives and Sealants, Paints and Coatings, Flooring Systems, Composite Wood and Agri-Fiber Products เพื่อให้อากาศในอาคารสะอาดสดชื่น ไม่รบกวนผู้ใช้งานในอาคาร
5.3 Thermal Comfort สภาวะสบายในอาคาร
ในการออกแบบได้มีการวิเคราะห์ถึงกิจกรรมของพนักงานในอาคาร (Metabolic Rate) การแต่งกาย (Clothing Value) ตามมาตรฐาน ASHRAE 55-2004 เพื่อกำหนดค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการใช้งาน จากการคำนวณพบว่าค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 25+0.5 oC ซึ่งจะทำให้พนักงานรู้สึกสบายและมีสมาธิในการทำงานที่ดี การควบคุมอุณหภูมิ ทำโดยการติดตั้ง Thermostat กระจายทั่วพื้นที่สำนักงาน เพื่อควบคุมปริมาณลมเย็นที่กล่องปรับปริมาณลม (Variable Air Volume Box) ให้ลมจ่ายได้พอดีกับค่าที่ออกแบบไว้ได้ในแต่ละพื้นที่ย่อยๆ นั่นเอง
5.4 Daylight and Views แสงธรรมชาติและทิวทัศน์ภายนอกอาคาร
เพื่อให้พนักงานได้มีสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ดี โปร่ง โล่ง สบาย การออกแบบพื้นที่ภายในจึงได้คำนึงถึงพนักงานส่วนมาก โดยจะจัดให้ห้องประชุมและห้องทำงานส่วนตัวอยู่ด้านในอาคาร และกำหนดให้พื้นที่รอบหน้าต่างเป็นพื้นที่ทำงานแบบเปิด เพื่อให้พนักงานทุกคนได้รับแสงธรรมชาติ และสามารถมองออกไปภายนอกอาคารได้ เป็นการลดความเครียดจากการทำงานและสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี สำหรับแสงธรรมชาติ ทางผู้ออกแบบได้เลือกใช้กระจกที่มีฟิล์มกรองแสงเพื่อให้ได้ระดับความสว่างเหมาะสมกับความเข้มแสงอาทิตย์ของประเทศไทย และพฤติกรรมของคนไทย เพื่อลดการปิดม่านหน้าต่างอันจะเป็นการจำกัดมุมมองภายนอกอาคารได้
6. INNOVATION IN DESIGN (5 Credits)
6.1 Building Automation System ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ
อาคารเอสซีจี 100 ปี ได้รับการออกแบบให้เป็นอาคารสำนักงานอัจฉริยะ กล่าวคือระบบพลังงาน ไฟฟ้า แสงสว่าง ปรับอากาศ สุขาภิบาล ดับเพลิง แจ้งเหตุเพลิงไหม้ กล้องวงจรปิด โทรศัพท์ จะสามารถควบคุมได้จากส่วนกลาง และระบบสื่อสารต่างๆ จะเป็นแบบ Digital IP ทั้งหมด เพื่อให้การควบคุมสั่งการ การส่งผ่านข้อมูลดำเนินการได้เร็ว ตอบสนองได้ฉับไว และบันทึกค่าได้นาน เพื่อให้ช่างอาคารสามารถเปรียบเทียบการใช้พลังงานในแต่ละเดือน และแต่ละปีได้ เพื่อพัฒนาการใช้พลังงานให้เหมาะสมกับฤดูกาล และจำนวนผู้ใช้อาคาร รวมถึงเป็นข้อมูลให้ทราบถึงแนวทางในการประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่องได้
6.2 Destination Control Elevator ระบบลิฟต์โดยสารแบบอัจฉริยะ
นอกจากมาตรการด้านอาคารเขียวแล้วเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ได้มีการนำมาใช้ในอาคารเช่น ระบบลิฟต์มีการเชื่อมต่อกับระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้การโดยสารลิฟต์ขึ้นไปชั้นสำนักงานทำได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ทางโครงการจึงได้เลือกใช้ระบบ Destination Control Elevator เชื่อมต่อกับระบบ Flap Gate Personal Control System เมื่อพนักงานเข้าสู่อาคารที่โถงต้อนรับชั้น 1 จะต้องแตะบัตรที่ช่อง Flap Gate เพื่อตรวจสอบสถานะบุคคลและตรวจสอบชั้นที่จะเดินทางไป จากนั้นระบบจะแจ้งเบอร์ลิฟต์ที่จะต้องโดยสารไป ทำให้ลดการจอดหลายชั้น ลดการจอดซ้ำซ้อน และยังสามารถป้องกันผู้ลักลอบเข้าพื้นที่สำนักงานได้ด้วย เป็นการเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว พร้อมๆ กับเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานในอาคารได้เป็นอย่างดี
จากมาตรการทั้งหมด จึงทำให้อาคารเอสซีจี 100 ปี ได้รับการรับรองจาก USGBC ในประเภท LEED Core & Shell ในระดับ PLATINUM ซึ่งนอกจากอาคารแห่งนี้จะประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นอาคารสมัยใหม่ที่คำนึงถึงความปลอดภัย ระบบการใช้งานที่สะดวกรวดเร็วและความรู้สึกสบายเมื่ออยู่ในอาคาร การออกแบบอาคารในลักษณะนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบทุกราย ผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไปจนถึงผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะต้องทำงานประสานกัน เพื่อให้ระบบเดิมของแต่ละฝ่ายสามารถสอดประสานกันจนเกิดผลประโยชน์เพิ่มแก่โครงการได้
หมวดหมู่:
การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 และ 2 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง” และ “ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง T5 ทดแทนหลอดขนาด T8” โดยการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน การรับประกันหลอดไฟ หรือ Ballast และความเหมาะสมขอ
หลังจากที่ US Green Building Council ได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในชื่อ LEED เกณฑ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีอาคารหลายแห่งในหลายประเทศ สนใจเข้าร่วมรับการประเมิน กว่า 26,000 อาคารแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ได้พัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาใช้เอง เช่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศไท