จาก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บุคคลหรือนิติบุคคล (ผู้ตรวจสอบพลังงาน) ที่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงาน
ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำสุด เนื่องจากปัจจัยทางด้านราคาที่ยังถูกอยู่ แต่ทั้งนี้หม้อไอน้ำที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงมักจะเป็นหม้อไอน้ำที่มีขนาดตั้งแต่ ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากเหตุผลด้านการออกแบบและการลงทุน ดังนั้นหม้อไอน้ำที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่จึงยังใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงดังนั้นทำให้ต้นทุนในการผลิตไอน้ำจึงค่อนข้างสูง
Coal Water Mixture (CWM) คืออะไร ?
Coal Water Mixture (CWM) คือ การนำถ่านหินที่บดจนละเอียด (~70%) มาผสมกับน้ำ (~30%) และเติมสารเติม (Additive) เข้าไปเพื่อให้น้ำและถ่านหินผสมเข้าด้วยกัน เพื่อนำมาใช้แทนในหม้อไอน้ำที่ใช้น้ำมันเตา ซึ่งอาจจะเรียก CWM ได้ว่า “น้ำมันเตาเทียม” การพิจารณาใช้งาน Coal Water Mixture (CWM) ในการพิจารณาใช้งาน CWM ในประเทศไทยยังไม่เหมาะในการนำมาใช้งานเนื่องจากมีข้อจำกัดในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
- การเลือกใช้ Additive ที่เหมาะสม
- ความเสี่ยงเรื่องการตกตะกอนของ CWM
- การเลือกชนิดถ่านหินที่เหมาะสมในการนำมาผลิตซึ่งต้องเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดี มี Inherent Moisture และปริมาณ Oxygen ต่ำ ซึ่งในประเทศไทยไม่มีถ่านหินที่มีคุณภาพดังกล่าว
- ค่าความร้อนของ CWM ที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจากมีน้ำอยู่มากซึ่งทำให้ต้องใช้หม้อไอน้ำที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาหม้อไอน้ำที่สามารถนำมาใช้งานกับ CWM ได้
- การสร้างโรงงานผลิต CWM เพื่อรองรับการใช้งาน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีโรงงานที่ผลิต CWM เพื่อจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรม
การพัฒนา Coal Water Mixture (CWM) ในประเทศไทย
ในปัจจุบัน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมมือกับบริษัท ค้าสากลซิเมนต์ ไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย พัฒนาและทดสอบการใช้งาน CWM ในประเทศไทย โดยมีแผนการพัฒนาในระยะเวลา 1 ปี เพื่อทดสอบคุณสมบัติก่อนที่จะนำมาใช้จริง และช่วงแรกจะใช้กับโรงงานกระดาษของเครือซิเมนต์ไทยก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่น โดยทาง พพ. คาดว่าในอนาคตจะสามารถลดต้นทุนในการใช้น้ำมันเตาได้ถึง 30% โดยขณะนี้ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันเตาปีละ 6 พันล้านลิตร หรือคิดเป็นเงินประมาณ 8 หมื่นล้านบาท
อ้างอิงข้อมูลจาก
- เอกสารบรรยาย “การใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในการผลิตไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อเทียบ กับการใช้น้ำมันเตา” โดย ดร.ภิญโญ มีชำนะ
- http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=51555 “ผู้จัดการ 360O”
หมวดหมู่:
บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจสำหรับผู้ที่สนใจในการออกแบบงานระบบประกอบในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการอ้างอิงมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบงานระบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่ได้ดำเนินการออกแบบแล้วมีความครบถ้วน และมีประสิทธิภาพในการออกแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง งานระบบใน
ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบสัญญาณภาพจากกล้อง Analog โดยใช้ระบบบันทึกภาพแบบ DVR (digital Video Recorder) และแบบสัญญาณกล้องเป้น IP แล้วใช้ชุดบันทึกภาพแบบ NVR (Network VDO Recorder) โดยทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันดังนี้ 1. ระบบ DVR ระบบ DVR จะรับสัญญาณภาพจากกล้องที่มีการประมวลผลแบบ Digit