หลังจากที่ US Green Building Council ได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในชื่อ LEED เกณฑ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีอาคารหลายแห่งในหลายประเทศ สนใจเข้าร่วมรับการประเมิน กว่า 26,000 อาคารแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ได้พัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาใช้เอง เช่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศไทย ที่มีการก่อตั้งสถาบันอาคารเขียวไทย ทำให้เกณฑ์อาคารเขียวได้รับการเผยแพร่อย่างหลากหลาย และในบางเมืองกฎหมายได้กำหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวเลยทีเดียว

หากพิจารณาจากเกณฑ์ของ LEED แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นความคิดรวบยอดที่ได้มาจากการพบเจอปัญหาจากการก่อสร้างอาคาร การใช้งานอาคารที่สิ้นเปลืองพลังงาน และเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดยังส่งผลให้ผู้ใช้งานอาคารสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และเสียสุขภาพด้วย

เกณฑ์ของ LEED นั้น ได้แบ่งออกเป็น 6 หมวด ตามประเภทของปัญหา ได้แก่

  • 1. Sustainable Site เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสถานที่ และการก่อสร้างที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  • 2. Water Efficiency เพื่อแก้ปัญหาการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง
  • 3. Energy and Atmosphere เพื่อแก้ปัญหาการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง และ แก้ปัญหาโลกร้อน
  • 4. Materials and Resources เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการใช้วัสดุที่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
  • 5. Indoor Environmental Quality เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี แก่ผู้ใช้งานในอาคาร
  • 6. Innovation in Design เพื่อเปิดโอกาสให้อาคารต่าง ๆ สามารถนำเสนอ แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อโลก

รายละเอียดของหมวดต่าง ๆ นั้น ทุกท่านสามารถอ่านได้จาก www.usgbc.org และ www.ashrae.org จากการเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และจากการที่ได้ร่วมออกแบบอาคารต่าง ๆ ทำให้ได้เห็นความต้องการของ เจ้าของอาคาร Hotel Operator สถาบันต่าง ๆ ที่เป็นผู้ตัดสินความยอดเยี่ยมของอาคาร และ กฎหมายท้องถิ่นในต่างประเทศ ได้กำหนดให้อาคารที่จะสร้างใหม่ต้องพัฒนาอาคารด้วยแนวทางอาคารเขียวด้วย ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้ เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากหลายอาคารได้พิสูจน์จากการก่อสร้างจริงแล้วว่า อาคารที่พัฒนาขึ้นตามมาตรฐานอาคารเขียว สามารถตอบสนองต่อการใช้งานอาคารของเจ้าของอาคาร และผู้ใช้งานได้อย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานมีความสุขกับการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในองค์กรได้อีกทาง

นอกจากนั้น จากการเก็บข้อมูลการใช้งานในอาคาร ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ของกลุ่มบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้การรับรองจาก USGBC ในระดับ LEED PLATINUM ก็พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในขณะที่เช่าพื้นที่ในอาคารอื่น ก็เป็นการช่วยยืนยันว่าการลงทุนเพิ่มเพื่อให้เป็นอาคารเขียวนั้น ถึงแม้จะต้องลงทุนเยอะกว่าแต่ก็จะได้ผลประหยัดทยอยกลับมาในภายหลังแน่นอน

สรุปได้ว่า ด้วยกระแสแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาสุขภาพ ที่กำลังขยายตัวไปทั่วโลก และผลพิสูจน์ทางการเงินแล้วว่าอาคารเขียวไม่ได้มีการลงทุนที่มากเกินความจำเป็น ก็จะยิ่งเป็นแรงผลักดันให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่จะต้องพัฒนา และ แสดงตนว่าเป็นอาคารเขียว เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้บริการ และ สังคม มากขึ้นเรื่อย ๆแน่นอน ดังนั้นวิศวกรในทุกสาขาจึงควรเตรียมพร้อมและเรียนรู้ที่จะพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตามแนวทางอาคารเขียวด้วย เพื่อเป็นการสร้างผลงานอย่างยั่งยืนแก่โลกนี้ต่อไป

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_7_1.png

Source: นายประพุธ พงษ์เลาหพันธุ์ LEED-AP

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากการที่ได้ผมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเขียว ตามเกณฑ์ของ US Green Building Council ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) มาหลายโครงการทำให้พบว่าถึงแม้เกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการแบ่งประเภทของอาคารเขียวว่า มีการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างก

Read More

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจสำหรับผู้ที่สนใจในการออกแบบงานระบบประกอบในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการอ้างอิงมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบงานระบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่ได้ดำเนินการออกแบบแล้วมีความครบถ้วน และมีประสิทธิภาพในการออกแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง งานระบบใน

Read More

ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในกา

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า