https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_12_1.png

การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง” ซึ่งผลประหยัดที่ได้ และเงินลงทุนที่ใช้ไป ก็ขึ้นอยู่กับว่าเลือก Ballast ประเภทไหน ดังนั้นในการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน และความเหมาะสมในการใช้งานประกอบด้วย ดังนั้นในตอนที่ 2 นี้ ขอนำเสนออีก 1 มาตรการ โดยจากการที่ ที่ปรึกษาเข้าโรงงานหลายๆ แห่งก็ได้เห็นวิธีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยมาตรการยอดฮิตที่นิยมกันก็คือ “มาตรการใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง T5 ทดแทนหลอดขนาด T8”

ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดของมาตรการคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หลอด ฟลูออเรสเซนต์แบบ T5 กับ T8 มีความแตกต่างกันอย่างไร โดยจะขอนำเสนอเชิงเปรียบเทียบ และผู้อ่านก็ตัดสินใจเองว่ามีความเหมาะสมที่จะนำไปปรับปรุงในสถานประกอบการ ของตนเองหรือไม่

Note : รูปหลอดไฟอ้างอิงจาก http://t5.egat.co.th/detal1.htm

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบ T5 และ T8

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_12_2.png

หลังจากดูคุณสมบัติของหลอดแต่ละประเภทแล้ว ทางที่ปรึกษาก็ขอเสริมเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อที่ภายหลังการปรับปรุงจะได้ไม่ต้องเสียใจ

1. ภายหลังการปรับปรุงระบบแสงสว่างค่าความสว่างไม่ควรน้อยกว่าของเดิม และถ้าจะให้ดีก็ไม่ควรต่ำกว่าเกณฑ์ตามกฎหมาย หรือเกณฑ์ความปลอดภัยของโรงงาน-อาคาร ดังนั้นถ้าสภาพเดิมสถานประกอบการใช้หลอด 36W แบบ High lumen (3,350 lm) การปรับปรุงมาใช้หลอด T5 28W (2,900 lm) อาจได้ค่าความสว่างลดลง

2. จะใช้หลอด T5 ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรใช้ร่วมกับโคมไฟของหลอด T5 ด้วย เนื่องจากลักษณะความยาวโคมที่พอดี และลักษณะการกระจายแสงของแผ่นสะท้อนแสงที่ได้ออกแบบมาสำหรับหลอด T5 แต่ถ้ามีงบประมาณจำกัดจะใช้โคมเดิมก็ได้ โดยใช้โคมลักษณะพิเศษสำหรับติดตั้งในโคมเดิม

3. หลอด T5 ต้องใช้ร่วมกับ Electronic Ballast ดังนั้นต้อเลือก Spec. Ballast ให้เหมาะสมและควรพิจารณาเรื่อง Power factor (ควร > 0.95) และค่า THD (ควร < 10% )ด้วย

4. ผลตอบแทนด้านการเงิน โดยทุกคนที่คิดจะลงทุนก็คงอยากได้ ผลประหยัดสูง เงินลงทุนต่ำที่สุด ระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุด โดยที่หลอดใช้งานได้นาน ดังนั้นที่ปรึกษาก็จะแนะนำเฉพาะเรื่องผลประหยัด ส่วนเรื่องเงินลงทุนก็ให้ไปตกลงราคากับผู้ขายกันเอง สำหรับมาตรการหลอด T5 ถ้าอยากได้ผลประหยัดสูงก็ให้พิจารณาเกณฑ์ดังนี้

  • พื้นที่ ที่จะปรับปรุงควรมีเวลาใช้งานประมาณ 3,500 hr/yr หรือใช้งานต่อวันตั้งแต่ 14 hr/day (ยิ่งใช้งานเป็นเวลานานก็ยิ่งประหยัด)
  • ถ้าสภาพเดิมใช้งานหลอด T8 36W ทำงานร่วมกับ Ballast แกนเหล็กธรรมดา (คิด Ballast loss ประมาณ 10W) จะได้ผลประหยัดมากกว่า (คืนทุนเร็ว) ถ้าสภาพเดิมใช้ Electronic Ballast
  • ถ้าสภาพเดิมเป็นโคมธรรมดา (ไม่มี Reflector หรือ Reflector สีขาว) มีหลอดไฟ 3 – 4 หลอด/โคม ภายหลังการปรับปรุงให้ใช้โคมหลอด T5 แบบประสิทธิภาพสูง และลดการใช้งานหลอดไฟ 1 หลอด/โคม ก็จะได้ผลประหยัดเพิ่มขึ้น

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะลงทุนปรับปรุงระบบแสงสว่าง ทางที่ปรึกษาก็ขอนำเสนอแนวทางในการคำนวณผลประหยัด โดยมีรายละเอียดพื้นที่ที่จะปรับปรุง และการคำนวณดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณ: โรงงานแห่งหนึ่งใช้งานหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 ขนาด 36 W ทำงานร่วมกับ Ballast แบบแกนเหล็กธรรมดาจำนวนทั้งหมด 1,000 ชุด โดยใช้งาน 16 hr/day 300 day/yr มีต้นทุนค่าพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 3.0 ฿/kWh ต้องการจะเปลี่ยนเป็นหลอด T5 ขนาด 28W โดยการติดตั้งในโคมไฟชุดเดิม มีเงินลงทุนค่าหลอด รวม Ballast เท่ากับ 300 ฿/ชุด

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_12_3.png

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในกา

Read More

ในปัจจุบันหลาย ๆ ท่านคงได้เคยใช้ หรือรู้จักอุปกรณ์ที่เรียกว่า บัสเวย์ หรือ บัสดัก อุปกรณ์ชนิดนี้ทำหน้าที่เหมือนสายไฟฟ้า คือ นำไฟฟ้า (พลังงานไฟฟ้า) ไปยังโหลดหรือจุดต่าง ๆ ภายในระบบไฟฟ้าบัสเวย์หรือบัสดักที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ผลิตออกมานั้นจะมีพิกัดกระแสตั้งแต่ 20-6,000 amp. เนื่องจากข้อดีดังต่อไปนี้จึงทำให

Read More

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบการบริหารจัดการและเก็บรักษาข้อมูลทางด้านสารสนเทศ (Information Technology, IT) เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจเกือบทุกขนาด ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการบริหารจัดการเครือข่ายสาขาจำนวนมาก เช่น ธนาคาร ผู้ให้บริการระบบสื่อสาร/Internet บริษัทธุรกิจน้ำมัน การไฟฟ้า

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า