ในปัจจุบันหลาย ๆ ท่านคงได้เคยใช้ หรือรู้จักอุปกรณ์ที่เรียกว่า บัสเวย์ หรือ บัสดัก อุปกรณ์ชนิดนี้ทำหน้าที่เหมือนสายไฟฟ้า คือ นำไฟฟ้า (พลังงานไฟฟ้า) ไปยังโหลดหรือจุดต่าง ๆ ภายในระบบไฟฟ้าบัสเวย์หรือบัสดักที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ผลิตออกมานั้นจะมีพิกัดกระแสตั้งแต่ 20-6,000 amp. เนื่องจากข้อดีดังต่อไปนี้จึงทำให
การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 และ 2 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง” และ “ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง T5 ทดแทนหลอดขนาด T8” โดยการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน การรับประกันหลอดไฟ หรือ Ballast และความเหมาะสมของพื้นที่ ที่จะนำไปใช้งานด้วย ดังนั้นในตอนที่ 3 นี้ ขอนำเสนออีก 1 มาตรการ ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงานของหลอดไฟทั้งวงจร หรือทั้งระบบก็ว่าได้ โดยมาตรการที่ว่านี้คือ ”การลดแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหลอดไฟ”
โดยปกติแล้วกำลังไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าของหลอดไฟโดยส่วนใหญ่ที่ใช้กัน จะแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้า ดังสมการ Power (lamp) = Volt (V) x Amp. (A) x P.F.
ตัวอย่างพื้นที่ ที่ได้ปรับลดแรงดันไฟฟ้า และมีการตรวจสอบระดับความสว่างภายหลังการปรับปรุง
ดังนั้นถ้าต้องการลดกำลังไฟฟ้าของหลอดไฟสามารถทำได้โดยการลดแรงดันไฟฟ้า แต่หลักการอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่าง มีจุดสำคัญที่ ผู้ที่จะดำเนินการปรับปรุงต้องตระหนักไว้เสมอคือ ความส่องสว่าง (Illuminance ; lux) ภายหลังการปรับปรุงต้องไม่น้อยกว่าเดิม และไม่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน
ขอให้หลักการในการพิจารณาปรับปรุงดังนี้
- ระดับความสว่างภายหลังการปรับปรุงต้องไม่น้อยกว่าเดิม และไม่น้อยกว่าค่ามาตรฐาน
- จุด หรือบริเวณที่จะปรับปรุงต้องมีแรงดันไฟฟ้าต่อเฟสมากกว่าพิกัดของหลอดไฟ เช่น มากกว่า 220 V
- ในวงจรไฟฟ้า 1 Circuit ต้องมีเฉพาะหลอดไฟเท่านั้น ห้ามมีโหลดประเภทอื่น และหลอดไฟของแต่ละ Circuit ควรจะเป็นประเภทเดียวกัน เนื่องจากหลอดแต่ละประเภท ระดับแรงดันที่สามารถลดได้ไม่เท่ากัน
- เลือกดำเนินการปรับปรุงในพื้นที่ ที่มี ช.ม. เปิดใช้งานแสงสว่างนาน (เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน ~ 10 hr/day)
- เลือกดำเนินการปรับปรุงในพื้นที่ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกได้
- สำหรับหลอดไฟที่ทำงานร่วมกับ Electronic Ballast อาจจะไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการนี้ได้
- ต้องมีวงจร Bypass ในกรณีที่เกิดปัญหาไม่วาจะกรณีใดก็ตาม ต้องสามารถปรับเข้าสู่สภาพเดิมได้
เมื่อพิจารณาตามหัวข้อด้านบนดีแล้ว ก็มาพิจารณาถึงวิธีการลดแรงดันไฟฟ้า โดยในปัจจุบันมีอุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ลดแรงดันมีมากมาย บางยี่ห้ออาจจะใช้ หม้อแปลงไฟฟ้าทำหน้าที่ลดแรงดัน หรือเป็นวงจร Power Electronic ทำหน้าที่ลดแรงดันเป็นต้น มีทั้งแบบ Single Phase หรือแบบ Three Phase ก็แล้วแต่ว่าผู้ที่จะปรับปรุงจะสนใจแบบไหน โดยในช่วงเริ่มต้นอุปกรณ์จะจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่พิกัด หลังจากนั้นประมาณ 3-5 min (บางยี่ห้ออาจจะเร็ว-ช้ากว่านั้น) อุปกรณ์จะทำหน้าที่ลดแรงดันไฟฟ้า ส่งผลให้กำลังไฟฟ้าของระบบแสงสว่างลดลง และความส่องสว่าง (lux) ลดลงด้วย
แรงดันที่สามารถปรับลดได้ของหลอดไฟแต่ละประเภท
Note : หลอดประเภท High Pressure Discharge ไม่สามารถลดแรงดันให้เหมือนกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ได้ ถ้าลดต่ำมากๆ หลอดอาจจะดับได้
ตัวอย่างผลตรวจวัดของสถานประกอบการแห่งหนึ่งที่ลดแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 36 W ลงมาถึง 190 V และมีผลประหยัดประมาณ 30 % หรือสรุปได้ว่าเมื่อแรงดันไฟฟ้าลดลง 2 Volt จะส่งผลให้กำลังไฟฟ้าลดลงประมาณ 1 Watt
ในท้ายที่สุดภายหลังการปรับปรุงต้องคำนึงถึงเรื่องระดับความส่องสว่างด้วย จากตัวอย่างที่นำสนอ สถานประกอบการเลือกปรับลดแรงดันไฟฟ้าลงประมาณ 190 V ในช่วงเวลากลางวัน และปรับกลับสภาพเดิมเมื่อถึงเวลากลางคืน โดยที่ตัวอุปกรณ์สามารถปรับลดแรงดันไฟฟ้าตามช่วงเวลาได้
หมวดหมู่:
โดยปกติโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้เชื้อเพลิง หรือใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต มักจะมีความร้อนเหลือทิ้ง เช่นความร้อนจากไอเสียของเตาเผา , ความร้อนจากไอเสียของ Boiler และความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศ ซึ่งการนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์จะช่วยให้สามารถลดการใช้พ
หลังจากที่ US Green Building Council ได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในชื่อ LEED เกณฑ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีอาคารหลายแห่งในหลายประเทศ สนใจเข้าร่วมรับการประเมิน กว่า 26,000 อาคารแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ได้พัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาใช้เอง เช่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศไท