อาคารสำนักงานในปัจจุบันนั้น เป็นสถานที่ที่ผู้คนหลายคนใช้เวลาเกือบทั้งวันอยู่ในอาคาร บางทีอาจจะมากกว่าอยู่ในบ้านพักอาศัยด้วยซ้ำ หลายอาคารในอดีตได้ก่อสร้างโดยละเลยความสำคัญของผู้ใช้งานในอาคาร ทำให้เกิดโรคเจ็บป่วยจากการใช้งานอาคาร (Sick Building Syndrome)ได้แก่ การเหนื่อยล้าง่าย ง่วง สมองไม่ปลอดโปร่ง ห
การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง” ซึ่งผลประหยัดที่ได้ และเงินลงทุนที่ใช้ไป ก็ขึ้นอยู่กับว่าเลือก Ballast ประเภทไหน ดังนั้นในการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน และความเหมาะสมในการใช้งานประกอบด้วย ดังนั้นในตอนที่ 2 นี้ ขอนำเสนออีก 1 มาตรการ โดยจากการที่ ที่ปรึกษาเข้าโรงงานหลายๆ แห่งก็ได้เห็นวิธีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยมาตรการยอดฮิตที่นิยมกันก็คือ “มาตรการใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง T5 ทดแทนหลอดขนาด T8”
ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดของมาตรการคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หลอด ฟลูออเรสเซนต์แบบ T5 กับ T8 มีความแตกต่างกันอย่างไร โดยจะขอนำเสนอเชิงเปรียบเทียบ และผู้อ่านก็ตัดสินใจเองว่ามีความเหมาะสมที่จะนำไปปรับปรุงในสถานประกอบการ ของตนเองหรือไม่
Note : รูปหลอดไฟอ้างอิงจาก http://t5.egat.co.th/detal1.htm
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบ T5 และ T8
หลังจากดูคุณสมบัติของหลอดแต่ละประเภทแล้ว ทางที่ปรึกษาก็ขอเสริมเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อที่ภายหลังการปรับปรุงจะได้ไม่ต้องเสียใจ
1. ภายหลังการปรับปรุงระบบแสงสว่างค่าความสว่างไม่ควรน้อยกว่าของเดิม และถ้าจะให้ดีก็ไม่ควรต่ำกว่าเกณฑ์ตามกฎหมาย หรือเกณฑ์ความปลอดภัยของโรงงาน-อาคาร ดังนั้นถ้าสภาพเดิมสถานประกอบการใช้หลอด 36W แบบ High lumen (3,350 lm) การปรับปรุงมาใช้หลอด T5 28W (2,900 lm) อาจได้ค่าความสว่างลดลง
2. จะใช้หลอด T5 ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรใช้ร่วมกับโคมไฟของหลอด T5 ด้วย เนื่องจากลักษณะความยาวโคมที่พอดี และลักษณะการกระจายแสงของแผ่นสะท้อนแสงที่ได้ออกแบบมาสำหรับหลอด T5 แต่ถ้ามีงบประมาณจำกัดจะใช้โคมเดิมก็ได้ โดยใช้โคมลักษณะพิเศษสำหรับติดตั้งในโคมเดิม
3. หลอด T5 ต้องใช้ร่วมกับ Electronic Ballast ดังนั้นต้อเลือก Spec. Ballast ให้เหมาะสมและควรพิจารณาเรื่อง Power factor (ควร > 0.95) และค่า THD (ควร < 10% )ด้วย
4. ผลตอบแทนด้านการเงิน โดยทุกคนที่คิดจะลงทุนก็คงอยากได้ ผลประหยัดสูง เงินลงทุนต่ำที่สุด ระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุด โดยที่หลอดใช้งานได้นาน ดังนั้นที่ปรึกษาก็จะแนะนำเฉพาะเรื่องผลประหยัด ส่วนเรื่องเงินลงทุนก็ให้ไปตกลงราคากับผู้ขายกันเอง สำหรับมาตรการหลอด T5 ถ้าอยากได้ผลประหยัดสูงก็ให้พิจารณาเกณฑ์ดังนี้
- พื้นที่ ที่จะปรับปรุงควรมีเวลาใช้งานประมาณ 3,500 hr/yr หรือใช้งานต่อวันตั้งแต่ 14 hr/day (ยิ่งใช้งานเป็นเวลานานก็ยิ่งประหยัด)
- ถ้าสภาพเดิมใช้งานหลอด T8 36W ทำงานร่วมกับ Ballast แกนเหล็กธรรมดา (คิด Ballast loss ประมาณ 10W) จะได้ผลประหยัดมากกว่า (คืนทุนเร็ว) ถ้าสภาพเดิมใช้ Electronic Ballast
- ถ้าสภาพเดิมเป็นโคมธรรมดา (ไม่มี Reflector หรือ Reflector สีขาว) มีหลอดไฟ 3 – 4 หลอด/โคม ภายหลังการปรับปรุงให้ใช้โคมหลอด T5 แบบประสิทธิภาพสูง และลดการใช้งานหลอดไฟ 1 หลอด/โคม ก็จะได้ผลประหยัดเพิ่มขึ้น
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะลงทุนปรับปรุงระบบแสงสว่าง ทางที่ปรึกษาก็ขอนำเสนอแนวทางในการคำนวณผลประหยัด โดยมีรายละเอียดพื้นที่ที่จะปรับปรุง และการคำนวณดังนี้
ตัวอย่างการคำนวณ: โรงงานแห่งหนึ่งใช้งานหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 ขนาด 36 W ทำงานร่วมกับ Ballast แบบแกนเหล็กธรรมดาจำนวนทั้งหมด 1,000 ชุด โดยใช้งาน 16 hr/day 300 day/yr มีต้นทุนค่าพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 3.0 ฿/kWh ต้องการจะเปลี่ยนเป็นหลอด T5 ขนาด 28W โดยการติดตั้งในโคมไฟชุดเดิม มีเงินลงทุนค่าหลอด รวม Ballast เท่ากับ 300 ฿/ชุด
หมวดหมู่:
หลังจากที่ US Green Building Council ได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในชื่อ LEED เกณฑ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีอาคารหลายแห่งในหลายประเทศ สนใจเข้าร่วมรับการประเมิน กว่า 26,000 อาคารแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ได้พัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาใช้เอง เช่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศไท
จากการที่ได้ผมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเขียว ตามเกณฑ์ของ US Green Building Council ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) มาหลายโครงการทำให้พบว่าถึงแม้เกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการแบ่งประเภทของอาคารเขียวว่า มีการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างก