https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_4_1.png

จาก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บุคคลหรือนิติบุคคล (ผู้ตรวจสอบพลังงาน) ที่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอนุญาต มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและรับรอง (Certification Audit) ตามที่กำหนด

สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงจัดทำคู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานสำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน ฉบับนี้ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป โดยคู่มือมีส่วนประกอบดังนี้

  • เกณฑ์การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
  • ขั้นตอนการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
  • ภาคผนวก ก ตัวอย่างแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
  • ภาคผนวก ข กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากคู่มือนี้ครับ โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องจากอาคารควบคุมและโรงงานควบคุม ที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายฉบับนี้

คำนำ

การตรวจสอบและรับรองและการตรวจประเมินระบบการจัดการพลังงาน หรือที่เรียกว่า Energy Management System Auditเป็นเครื่องมือเพื่อยืนยันว่าองค์กรที่ถูกตรวจประเมิน (Audit) มีการจัดการและการปฏิบัติด้านพลังงานที่เหมาะสม เพียงพอที่จะนำไปสู่เป้าหมายด้านพลังงานที่กำหนดไว้ อีกทั้งหากนำการตรวจประเมินที่เป็นระบบมาใช้อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยปรับปรุงผลการดำเนินงาน (Performance) ด้านพลังงานขององค์กรโดยชี้ให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของระบบการจัดการพลังงานสามารถนำไปสู่การขยายผลและการปรับปรุงที่เหมาะสมต่อไป การตรวจประเมินมีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่

  • การตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)หรือบางครั้งเรียกว่า First Party Auditเป็นการตรวจประเมินโดยบุคลากรภายในขององค์กร ในบางครั้งอาจให้บุคลากรจากหน่วยงานภายนอกมาตรวจประเมินแต่เป็นการดำเนินงานในนามขององค์กร
  • การตรวจประเมินโดยคู่ค้า (Supplier Audit)หรือบางครั้งเรียกว่า Second Party Audit เป็นการตรวจประเมินโดยบุคลากรของคู่ค้าที่มีผลประโยชน์ร่วมกับองค์กรที่ถูกตรวจ
  • การตรวจสอบและรับรอง (Certification Audit)หรือบางครั้งเรียกว่า Third Party Auditเป็นการตรวจประเมินโดยบุคลากรของหน่วยงานอิสระ เป็นการเปรียบเทียบลักษณะที่ปรากฏของระบบการจัดการกับเกณฑ์ที่กำหนด หากพบว่าลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์ก็จะมีการรับรอง (Certify)เพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้มีทั้งการตรวจประเมินภายใน (Internal Audit)และการตรวจสอบและรับรอง (Certification Audit) โดยในส่วนของการตรวจสอบและรับรองนั้นระบุให้ “เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุมจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยผู้ตรวจสอบและรับรอง” โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ บุคคลหรือนิติบุคคลที่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอนุญาต มีหน้าที่ดำเนินการตามที่กำหนด

กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ กำหนดให้มีผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับผู้ชำนาญการและระดับผู้ช่วยผู้ชำนาญการ โดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานไม่ว่าระดับใดจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ ๓ ของกฎกระทรวงฯ ซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติ[ข้อ ๓ (๑) ค]กำหนดให้ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

คู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานสำหรับผู้ตรวจสอบพลังงานฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานหรือผู้ที่มีหน้าที่ตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงานตามข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงาน ใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการตรวจสอบการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม รวมถึงการให้การรับรองผลการตรวจสอบดังกล่าวแก่โรงงานและอาคารควบคุมต่อไป

บทที่ ๑ เกณฑ์การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน เป็นการตรวจสอบว่าระบบการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือไม่ โดยในกระบวนการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน มีคำสำคัญที่ใช้และคำจำกัดความ ดังต่อไปนี้

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_4_2.png

จากคำนิยามของ “เกณฑ์การตรวจประเมิน” จะเห็นได้ว่าการตรวจสอบและรับรองมีเกณฑ์ที่ต้องใช้อยู่ 2 ประเภท ได้แก่

  • ประเภทที่ ๑ เกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ และประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ ระบบการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม “ทุกแห่ง” จะต้องดำเนินการตามเกณฑ์นี้ ตารางในภาคผนวก ก-๓ แสดงรายการตรวจสอบการจัดการพลังงานในการดำเนินงานตามเกณฑ์นี้ โดยเป็นหน้าที่ของผู้ช่วยผู้ชำนาญการที่จะนำรายการตรวจดังกล่าวตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงานที่ได้รับจากโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
  • ประเภทที่ ๒ เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ได้แก่ นโยบาย ขั้นตอนการทำงาน วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย เป็นต้น เกณฑ์ประเภทนี้จะแตกต่างกันไประหว่างโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ไม่มีโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมที่จะมีเกณฑ์นี้เหมือนกันในทุกๆ ประเด็น ในการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามเกณฑ์ประเภทนี้ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน จะต้องศึกษา วิเคราะห์ เอกสารที่เกี่ยวข้องของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่จะตรวจสอบและรับรองก่อนเริ่มดำเนินการเพื่อให้เข้าใจระบบการจัดการพลังงาน

ตัวอย่างเช่นจากรายงานการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมแห่งหนึ่ง ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน สามารถสร้างEnergy Use Diagramได้ตามที่แสดงในรูป ซึ่งสามารถสรุปในเบื้องต้นได้ว่า

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_4_3.png

โรงงานแห่งนี้มีกระบวนการเผาไหม้เพื่อผลิตไอน้ำซึ่งคาดว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่มีนัยสำคัญสูง ดังนั้น ผู้ตรวจสอบและรับรอง ควรจัดเตรียมเกณฑ์ที่จะตรวจสอบการใช้งานหม้อไอน้ำ เช่น ตรวจการควบคุมปริมาณออกซิเจนส่วนเกิน (Excess Oxygen)เป็นต้น ผู้ตรวจสอบและรับรอง สามารถพิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้

  • พบว่าไม่มี procedure กำหนดแนวทางในการควบคุมการทำงาน ผู้ตรวจสอบและรับรอง พิจารณาให้เป็น “ข้อคิดเห็นปรับปรุง (Observation)”
  • พบว่ามี procedure กำหนดว่าต้องควบคุม และพบหลักฐานว่ามีการควบคุม แต่มีค่าบางค่าสูงกว่าที่กำหนด ผู้ตรวจสอบและรับรอง พิจารณาให้เป็น “ข้อคิดเห็นการปรับปรุง (Observation)”
  • พบว่ามี procedure กำหนดว่าต้องควบคุม แต่ไม่พบหลักฐานว่ามีการควบคุม ผู้ตรวจสอบและรับรอง ต้องพิจารณาต่อว่า เป็นความไม่สอดคล้องแบบร้ายแรง (Major) หรือไม่ร้ายแรง (Minor)โรงงานแห่งนี้มีการใช้อากาศอัด ดังนั้นผู้ตรวจสอบและรับรองควรจัดเตรียมที่จะขอดูเอกสารเกี่ยวกับการทดสอบปริมาณอากาศอัดที่รั่ว(Compressed Air Leak) ผู้ตรวจสอบและรับรอง สามารถพิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้
  • พบว่าไม่มี procedure กำหนดให้มีการทดสอบและกำหนดแนวทางการทดสอบผู้ตรวจสอบและรับรอง พิจารณาให้เป็น “ข้อคิดเห็นการปรับปรุง (Observation)”
  • พบว่ามี procedure กำหนดว่าต้องมีการทดสอบ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง แต่พบว่าหลักฐานมีการดำเนินการครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ผู้ตรวจสอบและรับรอง ต้องพิจารณาต่อว่า เป็นความไม่สอดคล้องแบบร้ายแรง (Major) หรือไม่ร้ายแรง (Minor)
  • พบว่ามี procedure กำหนดว่าต้องมีการทดสอบ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง แต่ไม่พบหลักฐานการดำเนินการตามที่กำหนด ผู้ตรวจสอบและรับรอง ต้องพิจารณาต่อว่า เป็นความไม่สอดคล้องแบบร้ายแรง (Major) หรือไม่ร้ายแรง (Minor) ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ต้องจัดเตรียมรายการตรวจ (Checklist) ประเภทนี้ก่อนลงพื้นที่ และต้องจัดทำขึ้นหลังจากได้ ขอข้อมูลที่จำเป็นจากโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ไม่มี Checklistขององค์กรใดที่เหมือนกันทั้งหมด จึงเป็นการยากที่จะจัดเตรียมChecklistที่สามารถนำไปใช้ล่วงหน้า ต่างจากรายการตรวจสอบตามข้อกำหนดประเภทที่ ๑ ฉบับหน้ามาติดตามต่อใน บทที่ ๒ ขั้นตอนการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานครับ

เอกสารอ้างอิง

คู่มือการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานสำหรับผู้ตรวจสอบพลังงาน

สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

พฤษภาคม ๒๕๕๖ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๓

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกับหอผึ่งน้ำ ซึ่งมีหลากหลายวิธี เช่น กราฟแสดงค่าอุณหภูมิกระเปาะเปียกเฉลี่ยรายชั่วโมงแต่ละเดือนของกรุงเทพมหานคร การเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้เหมาะสม (Cooling tower optimization) วิธีนี้คือการเปิดใช้งานหอผึ่งน้ำให้สามารถทำอุณหภูมิน้ำด้านออกได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิกระเปาะเ

Read More

ในปัจจุบันหลาย ๆ ท่านคงได้เคยใช้ หรือรู้จักอุปกรณ์ที่เรียกว่า บัสเวย์ หรือ บัสดัก อุปกรณ์ชนิดนี้ทำหน้าที่เหมือนสายไฟฟ้า คือ นำไฟฟ้า (พลังงานไฟฟ้า) ไปยังโหลดหรือจุดต่าง ๆ ภายในระบบไฟฟ้าบัสเวย์หรือบัสดักที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ผลิตออกมานั้นจะมีพิกัดกระแสตั้งแต่ 20-6,000 amp. เนื่องจากข้อดีดังต่อไปนี้จึงทำให

Read More

หลังจากที่ US Green Building Council ได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในชื่อ LEED เกณฑ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีอาคารหลายแห่งในหลายประเทศ สนใจเข้าร่วมรับการประเมิน กว่า 26,000 อาคารแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ได้พัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาใช้เอง เช่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศไท

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า