บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจสำหรับผู้ที่สนใจในการออกแบบงานระบบประกอบในโรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการอ้างอิงมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบงานระบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าระบบที่ได้ดำเนินการออกแบบแล้วมีความครบถ้วน และมีประสิทธิภาพในการออกแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

งานระบบในโรงพยาบาลนั้นจะต้องออกแบบให้เพียงพอและมั่นใจกับความต้องการ ขั้นตอนการให้บริการสุขภาพในการรักษาต่างๆ ตามความต้องการของผู้ป่วยและผู้ที่รักษาหรือให้การพยาบาลโดยจะต้องคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นในการทำงานหรือเกิดระหว่างที่ทำการรักษา และ แน่นอนที่สุดระบบที่ใช้ในการออกแบบจะต้องเป็นระบบที่ประหยัดพลังงานเนื่องจากโรงพยาบาลเปิด 24 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในการเลือกระบบประหยัดพลังงานนั้นจะต้องพิจารณาเรื่องการคุ้มทุนในการลงทุน เช่นเดียวกันว่าเหมาะสมและสามารถคืนทุนได้หรือไม่เพราะมาตรการบางอย่างไม่เหมาะสมกับการลงทุนซึ่งงานระบบในโรงพยาบาลในเบื้องต้นจะประกอบด้วยดังนี้

·      Mechanical (HVAC) System

·      Electrical System

·      ICT & ELV System

·      Water System

·      Drainage System

·      Medical gas System

·      Fuel System

·      Pneumatic Tube System

·      Fire Fighting System

·      Vertical Transportation

A. Mechanical (HVAC) System

การออกแบบระบบปรับอากาศและระบายอากาศนั้น ในการออกแบบจะต้องดำเนินการออกแบบตามมาตรฐานตาม ASHRAE Standard และมาตรฐานหรือข้อกำหนดท้องถิ่นอย่างน้อยดังต่อไปนี้

ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

·      Infection Control and HVAC

การแพร่เชื้อของเชื้อโรค มีหลายช่องทางในการแพร่เชื้อ เช่น โรควัณโรค เชื้อไข้วัดใหญ่ สามารถแพร่เชื้อได้ทางอากาศและสภาวะที่อากาศเย็น เป็นต้น ดังนั้น วิศวกรจะต้องออกแบบงานระบบปรับอากาศเพื่อป้องกันและลดปริมาณเชื้อโรคในอากาศ โดยต้องดำเนินการตามหลักเกณท์ดังต่อไปนี้

1.     การออกแบบ Air changed เพื่อลดปริมาณของเชื้อที่อยู่ในอากาศ

2.     การเลือกระบบกรองเพื่อเอาเชื้อออกจากอากาศ

3.     การใช้รังสี UVGI (Ultra Violet Germicidal Irradiation) ทำการฆ่าเชื้อโรค และลดการเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด

4.     การควบคุมแรงดันอากาศ ในห้องต่างๆ ให้แรงดันเคลื่อนที่จากห้องสะอาดที่สุดไปยังพื้นที่ห้องสะอาดน้อยกว่าและไปยังพื้นที่สกปรกต่อไป

5.     การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อลดการแพร่พันธ์ของเชื้อโรคบางตัว

6.     ต้องออกแบบระบบระบายอากาศ 100% สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและต้องควบคุมเพื่อเอาละอองออกไปจากพื้นที่

7.     การออกแบบการกระจายของระบบปรับอากาศเป็นพื้นที่ ไม่ออกแบบระบบปรับอากาศแบบใช้ห้องรวมจ่ายทั้งพื้นที่

8.    การออกแบบระบบปรับอากาศให้มีระบบเติมอากาศและมีระบบการกรองที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณ PM 2.5 และแรงดันลมตรงทางเข้าต้องเป็นบวก

·      Life Safety & HVAC

การออกแบบระบบปรับอากาศต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของระบบโดยจะต้องดำเนินการออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน NFPA และมาตรฐานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

1.     การออกแบบ Fire Damper, Smoke Damper, Combination Fire and Smoke Damper จะต้องออกแบบและติดตั้งตามมาตรฐาน

2.     Mechanical Smoke Detector จะต้องดำเนินการออกแบบสำหรับ Atrium Corridor and Open Circulation Space

3.     บันไดหนีไฟจะต้องเตรียมระบบ Pressurized Fan

4.     การออกแบบการทำงานของระบบปรับอากาศ จะต้องทำงานร่วมกันกับระบบ Fire Alarm

5.     หากใช้ท่อลมเพื่อกระจายลมเย็นและใช้ในระบบระบายควันจะต้องออกแบบท่อลมให้มีคุณสมบัติในการทนไฟด้วย

·      HVAC Service Reliability, Redundancy & Resiliency Requirement

·      HVAC System Zoning & Emergency Operation

·      HVAC Service Acoustic Requirement

·      HVAC Service Future Proofing and Spare Capacities

·      HVAC System selection and Distribution

·      HVAC Systems Design Criteria& Relevant Applicable Codes

·      HVAC System Location Access & Maintenance

·      Design Consideration and HVAC Equipment’s

·      HVAC Services Instrumentation and Control

·      HVAC System Commissioning & Handover

·      HVAC Room Side Design

 

B. Electrical System

การออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับโรงพยาบาลจะต้องดำเนินการออกแบบให้ระบบไฟฟ้ามีความน่าเชื่อถือในระบบ มีการสำรองอย่างเพียงพอและการออกแบบจะต้องมีทั้งระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบ UPS และ Isolated Transformer สำหรับห้องที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ในการออกแบบเพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและผู้ที่รักษาและในการออกแบบระบบไฟฟ้าจะต้อง มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้

·      Power Quality

·      Power Supply and Distribution Resilience

·      Primary (Normal) Power Supply and Distribution

·      Secondary (Emergency) Power Source and Distribution

·      Tertiary(UPS) Power Source and Distribution

·      Protection and Switchgear

·      Electromagnetic Compatibility

·      Earthing and Bonding

·      Lightning Protection System (Inside and Outside)

·      Containment and Cables

·      Final Circuit

·      Life Safety Circuit

·      Lighting

·      System Testing Commissioning and Operation

C. ELV and ICT System

ระบบการออกแบบในปัจจุบันนิยมการออกแบบโดยการใช้ระบบ ICT ที่มีการใช้ระบบ IP เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ระบบ ICT ที่เป็นระบบหลักในการสื่อสารหรือการกระจายสัญญาณจะต้องเป็นระบบที่มีความมั่นคงสูงและเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งแนวทางในการออกแบบจะออกแบบให้ได้ อย่างน้อย TIER 3 ตามแนวทางตามรูป

·      Nurse Call System

·      Central Clock System

·      CCTV and Access Control

·      Patient / Medical Equipment Monitoring

·      Intercom System

·      Patient Infotainment System

·      Queue Management System

·      Asset Management System

·      Health Information System

·      Fire Detection and Signaling System

·      Public Address System

·      IP PHONE

·      IP TV

 

D. Water System

การออกแบบระบบน้ำดีในโครงการโรงพยาบาล จะต้องคำนึงการใช้งานและลดการติดเชื้อหรือปัญหาจากน้ำที่ไม่สะอาด ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม น้ำที่ใช้ในขบวนการรักษาที่มีความสำคัญจะต้องผ่านขั้นตอนการทำให้น้ำสะอาดเพียงพอเพื่อให้มั่นใจว่าเหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งอย่างน้อยที่สุดต้องมีดังนี้

·      น้ำดิบ อาจจะต้อง ใช้น้ำจากการประปา หรือแหล่งน้ำอื่นๆ ที่สามารถหาได้

·      น้ำดับเพลิง

·      น้ำ Softener

·      น้ำ RO

·      Irrigation Water

·      Grey Water System

·      Hot Water System

·      Water Treatment System

·      Steam System

·      Healthcare and Sanitary Fitting

 

น้ำที่ใช้ในโรงพยาบาลอย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติดังตารางข้างล่างนี้

E. Drainage System

การออกแบบระบบระบายน้ำในอาคารส่วนใหญ่ต้องออกแบบระบบระบายน้ำเป็นแบบการไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก สำหรับการระบายน้ำแบบทั่วไปในการออกแบบระบบระบายน้ำที่ใช้แรงดันนั้นจะออกแบบสำหรับระบบการระบายน้ำที่จำเป็นเท่านั้น เช่นในห้องเครื่อง หรือชั้นที่ต่ำกว่าระดับดิน ซึ่งสามารถแบ่งระบบการระบายน้ำออกเป็นแต่ละประเภทได้ดังนี้

·      Wastewater Drainage โดยทั่วไประบบระบายน้ำจะมาจากอ่างล้างมือ ห้องอาบน้ำ และ Floor Drain จะไม่รวมของเสียที่มาจากมนุษย์

·      Soil Water Drainage จะเป็นของเสียที่มาจากร่างกายมนุษย์

·      Storm Water Drainage

·      Chemical Water Drainage ได้แก่น้ำที่มาจากห้อง LAB, ห้องฟอกไต หรือห้องที่มีสารเคมีที่ต้องการทำให้เป็นกลาง ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและบำบัดน้ำต่อไป

·      Radiation Drainage

·      Condensate Drainage Pipe

·      Kitchen Grease Drainage

·      Oil or Fuel Drainage

 

F. Medical Gas System

ระบบนี้จะเป็นระบบที่สำคัญอีกระบบเพราะเป็นระบบ GAS ที่ต้อง ใช้ในการช่วยชีวิตและใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย GAS ดังต่อไปนี้

·      Oxygen

·      Medical Air

·      Surgical Air

·      Vacuum/Suction Air

·      Nitrous Oxide

·      Helium / Oxygen

·      Nitrogen

·      Carbon Dioxide

·      Nitrous Oxides / Oxygen

·      Gas Scavenging System (AGSS)

ในการออกแบบระบบดังกล่าวจะทำการออกแบบโดยใช้มาตรฐานการออกแบบดังนี้ ISO 7396 และ NFPA-99

G. Fuel System

การออกแบบระบบเชื้อเพลิง มีดังนี้

·      Hot Catering System

·      Hot Cleaning Commercial

·      Electrical Generator

·      Hot Water Generator

·      Fuel Run Fire Fighting

 

H. Pneumatic tube System or Traveller System

ระบบที่ใช้ในการส่งเอกสาร หรอื ผลเลือด หรือสิ่งเล็กๆต่างๆที่ใช้การส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งการออกแบบปัจจุบันก็มีระบบอยู่ 2 ระบบซึ่งข้อดีข้อเสียจะแตกต่างกัน และปัญหาการติดตั้งก็แตกต่างกัน

I. Fire Protection System

ระบบการออกแบบการป้องกันเรื่องเพลิงไหม้ในอาคารจะต้องดำเนินการออกแบบทั้ง Passive and Active System ซึ่งในการออกแบบระบบนี้ในนั้นส่วนใหญ่จะอ้างอิงการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA โดยมีระบบดังต่อนี้

·      Sprinkler system

·      Pre-action System

·      Clean Agent System

·      Deluge Water System

·      Foam System

·      Spray Fog / Mist System

 

J. Vertical Transportation System

การออกแบบ Lift สำหรับโรงพยาบาลนั้น สามารถจำแนก Lift ออกได้ดังนี้

·      General Passenger Lift

·      ในการออกแบบ Lift ชนิดนี้นั้น สำหรับผู้โดยสารทั่วไปและต้องออกแบบ Lift ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคนพิการด้วย ซึ่งจะไม่ให้มีการใช้งานร่วมกันกับ Bed Lift Service and Good Lift ในการออกแบบต้องคำนึงถึงเรื่องการแยกของ Lift Lobbyด้วยว่าจะต้องแยกจากกัน เพื่อป้องกันการใช้งานที่ไม่เหมาะสมและเกิดการผิดพลาดในการใช้งาน

·    Bed lifts ใช้สำหรับขนส่งผู้ป่วย เตียงผู้ป่วย พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และหมอหรือพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้าย ขนาดในการออกแบบไม่ควรเล็กกว่า 1,000 kg และขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 1,400 mm และยาวไม่น้อยกว่า 1,800 mm

·      Service and Goods Lift ควรต้องออกแบบให้ Lift มีทั้ง Lift สะอาดและ Lift สกปรกใช้ในการขนย้ายที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งขนาดของ Lift ไม่ควรมีขนาดที่น้อยกว่า 2,500 kg

·      Fire Fighting Lift จะต้องอกแบบ Lift สำหรับการหนีไฟและใช้ในการดับเพลิงอย่างน้อย 1 ตัว แนะนำให้ออกแบบเป็น Bed Lift เนื่องจากเพื่อใช้ในการอพยพการหนีไฟของผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเคลื่อนทีได้ และ Lift ทั้งหมดจะต้องออกแบบให้รับไฟฟ้าจาก Generator เท่านั้น

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยปกติโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้เชื้อเพลิง หรือใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต มักจะมีความร้อนเหลือทิ้ง เช่นความร้อนจากไอเสียของเตาเผา , ความร้อนจากไอเสียของ Boiler และความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศ ซึ่งการนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์จะช่วยให้สามารถลดการใช้พ

Read More

จากการที่ได้ผมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเขียว ตามเกณฑ์ของ US Green Building Council ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) มาหลายโครงการทำให้พบว่าถึงแม้เกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการแบ่งประเภทของอาคารเขียวว่า มีการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างก

Read More

ในการใช้พลังงานโดยทั่วไป ระบบทำน้ำเย็น (Chiller Plant) เป็นระบบหนึ่งที่มีการใช้พลังงานอยู่ในสัดส่วนที่สูง ซึ่งการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพหรือการมองหาโอกาสในการประหยัดพลังงานของระบบ สามารถปรับปรุงได้โดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งใน 7 วิธีการที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ ปรับปรุงการตั้งค่า set poin

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า