โดยปกติโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้เชื้อเพลิง หรือใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต มักจะมีความร้อนเหลือทิ้ง เช่นความร้อนจากไอเสียของเตาเผา , ความร้อนจากไอเสียของ Boiler และความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศ ซึ่งการนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์จะช่วยให้สามารถลดการใช้พลังงาน หรือลดการใช้เชื้อเพลิงของระบบเดิมลงได้ โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการนำความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรมอาหาร ไปใช้อุ่นน้ำป้อน Boiler

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_10_1.png

ในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่มักมีการใช้ Boiler ในกระบวนการทำอาหารให้สุก หรือฆ่าเชื้อโรค และมีระบบทำความเย็นสำหรับเก็บ หรือแช่แข็งอาหาร ซึ่งทั้ง 2 ระบบดังกล่าวจะใช้พลังงานในสัดส่วนที่สูง ดังนั้นเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสามารถประยุกต์นำระบบ Heat Recovery มาใช้ โดยการนำความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของระบบทำความเย็น ไปใช้อุ่นน้ำป้อน Boiler

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_10_2.png

การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นก่อนระบายความร้อนกับน้ำป้อน Boiler จะแลกเปลี่ยนผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Heat Exchanger ซึ่งจะถูกออกแบบมาเฉพาะให้เหมาะสมกับปริมาณความร้อนเหลือทิ้ง อัตราการไหลของน้ำป้อน และอุณหภูมิน้ำป้อน Boiler ที่ต้องการ

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_10_3.png

จาก Diagram หลังปรับปรุงระบบอุณหภูมิน้ำป้อน Boiler ก่อนเข้า Deaerator Tank จะสูงขึ้นเช่นอุณหภูมิน้ำป้อนจาก 28 oC เพิ่มเป็น 60 oC เป็นต้นส่งผลให้ Boiler ทั้งระบบใช้พลังงานเชื้อเพลิงลดลง (อุณหภูมิน้ำป้อนหลังปรับปรุงขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนเหลือทิ้ง และการออกแบบ Heat Exchanger)

ตัวอย่าง: อุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งมีปริมาณน้ำป้อน Boiler เฉลี่ย 15 m3/hr ที่อุณหภูมิน้ำป้อน 28 oC โดยได้มีการนำระบบ Heat Exchanger มาใช้และออกแบบให้อุณหภูมิน้ำที่ออกจาก Heat Exchangerประมาณ 60 oC ส่งผลให้ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงดังนี้

ถ้ากำหนดให้ปริมาณการใช้ไอน้ำในการกระบวนการผลิตคงที่ทั้งสภาวะก่อน/หลังปรับปรุงปริมาณความร้อนของน้ำป้อนที่เพิ่มขึ้น หรือปริมาณเชื้อเพลิงที่ลดลงจะเท่ากับ

ผลประหยัด = 15,000 kg/hr x 1 kcal/kg-oC x (60 oC – 28 oC) = 480,000 kcal/hr หรือคิดเป็นเชื่อเพลิงที่ประหยัดได้ เท่ากับ (คิดที่การใช้งาน Boiler24 hr/day, 300 day/yr)

  • 576 Ton/yr สำหรับการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน (คิด LHV ที่ 6,000 kcal/kg)
  • 13,710 MMBTU/yr สำหรับการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (คิด LHV ที่ 253,119 kcal/MMBTU)
  • 348,950 Liter/yr สำหรับการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตาเกรด C(คิด LHV ที่ 9,904 kcal/Liter)

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำ คือ ปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน และคุณสมบัติของน้ำ สามารถเป็นของแข็ง,ของเหลวและก๊าซได้ ซึ่งการที่จะใช้ประโยชน์ในแต่ละสถานะนั้นก็แตกต่างกัน บทความนี้ ขอกล่าวถึงการใช้ประโยชน์ในสถานะก๊าซเท่านั้น หรือที่เรียกว่า ไอน้ำ ทำไมเราจึงต้องใช้ไอน้ำและศึกษาเรื่องไอน้ำ ซึ่งสมัยก่อนใช้ไอน้ำเพีย

Read More

จากการที่ได้ผมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเขียว ตามเกณฑ์ของ US Green Building Council ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) มาหลายโครงการทำให้พบว่าถึงแม้เกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการแบ่งประเภทของอาคารเขียวว่า มีการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างก

Read More

ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในกา

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า