https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_17_1.png

ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบสัญญาณภาพจากกล้อง Analog โดยใช้ระบบบันทึกภาพแบบ DVR (digital Video Recorder) และแบบสัญญาณกล้องเป้น IP แล้วใช้ชุดบันทึกภาพแบบ NVR (Network VDO Recorder) โดยทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันดังนี้

1. ระบบ DVR

ระบบ DVR จะรับสัญญาณภาพจากกล้องที่มีการประมวลผลแบบ Digital แล้วส่งสัญญาณภาพออกมาเป็น Analog ผ่านสาย Coaxial Cable และต่อเข้าชุดบันทึกภาพแบบ DVR ผ่านหัวต่อแบบ BNC โดยแต่ละกล้องต้องเดินสายสัญญาณภาพ 1 เส้นมายังชุดบันทึกภาพโดยตรง โดยระยะสายมาตรฐานสามารถใช้ได้ยาวสุดประมาณ 1 km. (ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติตัวกล้องแต่ละยี่ห้อ) ทั้งนี้สัญญาณภาพ Analog คือสัญญาณภาพที่ดีที่สุด (มีคุณภาพดีกว่า IP, มีความเป้น Real-time สูงกว่าระบบ IP) เหมาะกับการสังเกตุการในการดูภาพ Live เพรทะภาพที่ปรากฏที่ตัวกล้องจะเกิดขึ้นพร้อมกันที่จอแสดงภาพที่ห้องควบคุม

ซึ่งระบบ DVR ดังกล่าวจะมีข้อดี ดังนี้

  • 1. ระบบ DVR มีเสถียรภาพที่สูงกว่าระบบ NVR เพราะไม่ใช้ Window ในการ RUN คำสั่งการทำงานจึงไม่ติด Virus รวมทั้ง Hardware ไม่มีความซับซ้อนจึงซ่อมบำรุงได้ง่ายกว่า
  • 2. ระบบ DVR กินกำลังไฟฟ้าน้อยกว้าระบบ NVR ในระยะยาวหน่วยงานจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า ยิ่งโครงการขนาดใหญ่ยิ่งประหยัด
  • 3. ระบบ DVR มีความเงียบมากกว่าระบบ NVR ในห้องควบคุมที่ต้องติดตั้ง ชุดบันทึกภาพไว้กับจอแสดงภาพผู้ใช้งานจะมีสมาธิในการทำงานมากกว่า
  • 4. ราคาถูกกว่า
  • 5. การบำรุงรักษาต่ำกว่า
  • 6. การใช้งานง่ายกว่าเนื่องจากการเข้าสู่ Menu จะเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สามารถข้ามลำดับได้
  • 7. การดูภาพ Live view ที่จอแสดงภาพจะมีความคมชัด และ Real-time มากกว่าระบบ IP
  • 8. รองรับการต่อใช้งานผ่านเครือข่ายทั้ง LAN, WAN, Internet และ Mobile Phone ได้

ข้อเสียของระบบ DVR

  • 1. การเพิ่มกล้องทุกครั้งต้องเดินสายสัญญาณใหม่มายัง DVR โดยเป็นแบบ 1 กล้อง / 1 เส้น
  • 2. กรณีที่ระบบมีมากกว่า 16 CH. ต้องเพิ่ม DVR และจอแสดงภาพชุดใหม่ (DVR มีข้อกำกัดโดยส่วนใหญ่คือ 16 กล้อง / ชุด)
  • 3. กรณีต้องการเพิ่มความจุ Hard Disk ในตัวเครื่องมักมีข้อจำกัด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 8000 GB ต่อ 1 เครื่องบันทึกภาพ (DVR) ต่อ 16 กล้อง [ โครงการส่วนใหญ่แค่นี้ก็พอ]

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_17_2.png

รูปแสดงการต่อใช้งานชุดบันทึกภาพแบบ NVR

2. ระบบ NVR

ระบบ NVR เป็นระบบการบันทึกภาพจากกล้อง IP (หรือกล้อง Analog ต่อผ่าน Encoder เพื่อแปลงเป็น IP) โดยสายสัณญาณระหว่างกล้องกับ NVR จะต่อผ่านเครื่อข่าย LAN โดยมี Ethernet Switch เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างกัน (ระหว่างชั้นต่างๆ กับห้องควบคุม) การเดินสายสัญญาณของกล้องแบบ IP หรือจาก Encoder และ Ethernet Switch กับ Ethernet Switch จะเดินด้วยสายสัญญาณแบบ UTP CAT5 (หรือ CAT 6) โดยความยาวของสายได้สูงสุดไม่เกิน 100 เมตร กรณีใกลกว่านั้นต้องเดินด้วยสายสัญญาณแบบ Fiber Optic การ Compress (ปัจจุบันเป็นแบบ H.264) สัญญาณภาพจะถูกกระทำที่หัวกล้องแบบ IP หรือที่ Encoder แล้วส่งมาเก็บที่ NVR ซึ่งแตกต่างจากระบบ DVR ที่การ Compress ภาพจะถูกกระทำที่ DVR และบันทึกภาพที่ DVR โดยตรง

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_17_3.png

รูปที่มี Server สีแดง 3 ตัวคือ NVR ส่วนรูปด้านล่างที่ Server หายไปคือระบบ iSCSI

ข้อเสียของระบบ NVR

  • 1. มี ปัญหาเรื่องการ Hang ของ Server และติด Virus ทำให้ปัจจุบันเทคโนโลยีแบบ NVR กำลังจะหมดไป โดยจะมี Technology แบบใหม่ออกมาทดแทนเรียกว่า Direct ISCSI (ไอซะกัดซี่) ตามแสดงในรูปด้านบน
  • 2. ราคาแพง
  • 3. มีปัญหาบ่อย
  • 4. อุปกรณ์ประกอบการติดตั้งต้องอาศัย Network Switch จาก Supplier เจ้าอื่น
  • 5. ภาพ Live View มีคุณภาพต่ำคือมีการ Delay มาก
  • 6. ภาพจากการบันทึกมีคุณภาพเท่ากันกับแบบ DVR

โดยภาพรวมงานโครงการ – อาคาร ระบบ CCTV แบบ DVR มีความเหมาะสมมากกว่า

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 และ 2 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง” และ “ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง T5 ทดแทนหลอดขนาด T8” โดยการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน การรับประกันหลอดไฟ หรือ Ballast และความเหมาะสมขอ

Read More

ระบบเสียงประกาศในระดับ Enterprise จะมีการทำงานแบบอิสระทั้ง Input ( Microphone, Music, Event sound) และ Output (Speaker Zone) โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดและตั้งค่าการทำงานให้เสียงใดๆ ออกไปดัง ณ โซนใดๆ ได้อย่างอิสระ ณ เวลาเดียวกัน โดยไม่รบกวนกัน (Matrix Channel) การควบคุมการทำงานสามารถใช้งานได้โดยง่ายเพีย

Read More

หลังจากที่ US Green Building Council ได้ออกเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในชื่อ LEED เกณฑ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก มีอาคารหลายแห่งในหลายประเทศ สนใจเข้าร่วมรับการประเมิน กว่า 26,000 อาคารแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ได้พัฒนาเกณฑ์ขึ้นมาใช้เอง เช่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมถึง ประเทศไท

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า