ในการผลิตไอน้ำโดยหม้อไอน้ำ (Boiler) โดยทั่วไปเชื้อเพลิงที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วย ถ่านหิน (Coal), น้ำมันเตา (Heavy Oil), ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas), หรือไฟฟ้า (Electricity) ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนในการผลิตไอน้ำของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดย่อมไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่การผลิตไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหินจะมีต้นทุนในกา
จากการที่ได้ผมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเขียว ตามเกณฑ์ของ US Green Building Council ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) มาหลายโครงการทำให้พบว่าถึงแม้เกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการแบ่งประเภทของอาคารเขียวว่า มีการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างกันแค่ไหน แต่เมื่อนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาคารในประเทศไทยไปหลาย ๆ โครงการพบว่า ในรายละเอียดจะมีการอ้างอิงมาตรฐานประเทศสหรัฐเป็นจำนวนมากและมีแนวคิดในการออกแบบที่เหมาะกับสภาพสังคมของประเทศสหรัฐเป็นหลัก เช่น การจำกัดจำนวนที่จอดรถยนต์ การกำหนดให้มีแสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารในปริมาณที่มาก ซึ่งอาจจะถูกใจคนอเมริกา แต่สำหรับคนไทยแล้วเกณฑ์บางข้อ กลายเป็นการสร้างความรู้สึกไม่สบายแทน
ด้วยเหตุนี้กลุ่มสถาปนิกและวิศวกรจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ และ วิศวกรรมสถานฯ จึงได้ร่วมมือกันออกเกณฑ์อาคารเขียวสำหรับประเทศไทย ในชื่อว่า เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability – TREES) โดยได้แนวคิดมาจาก LEED และ แบบประเมินอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกระทรวงพลังงาน มาเป็นแนวทางในการกำหนดความเป็นอาคารเขียวที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย และ รสนิยมของคนไทย
ในเกณฑ์การประเมินนั้นจะแบ่งออกเป็น 8 หมวด ได้แก่
- หมวดที่ 1 การบริหารจัดการอาคาร (Building Management)
- หมวดที่ 2 ผังบริเวณและภูมิทัศน์ (Site and Landscape)
- หมวดที่ 3 การประหยัดน้ำ (Water Conservation)
- หมวดที่ 4 พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere)
- หมวดที่ 5 วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง (Materials and Resources)
- หมวดที่ 6 คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality)
- หมวดที่ 7 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection)
- หมวดที่ 8 นวัตกรรม (Green Innovation)
โดยเกณฑ์ TREES จะเป็นแบบสมัครใจเข้าร่วม และมีระดับขั้นการประเมินถึง 4 ระดับ ได้แก่ Certified Silver Gold Platinum ขึ้นอยู่กับคะแนนที่แต่ละอาคารจะได้รับมากน้อยแตกต่างกันไป โดยอาคารที่ผ่านการประเมินจะต้องผ่านเกณฑ์บังคับ 9 ข้อด้วย เพื่อยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามเกณฑ์อาคารเขียวที่จำเป็นได้ครบถ้วน
สำหรับรายละเอียดภายในเกณฑ์นั้นสามารถ download ได้จาก website www.tgbi.or.th หรือ www.asa.or.th ในบทความนี้ขอกล่าว ถึงข้อแตกต่างของเกณฑ์ TREES กับเกณฑ์อาคารเขียวประเภทอื่น ๆ เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นว่าเหตุใดเราจึงควรมีเกณฑ์อาคารเขียวเป็นของตนเอง
หมวดที่ 1จะมีคะแนนสำหรับอาคารที่เผยแพร่ข้อมูลความเป็นอาคารเขียวสู่สาธารณะ เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ชุมชน เน้นการมีส่วน ร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ขยายผลสู่ส่วนอื่นๆ ได้
หมวดที่ 2จะมีคะแนนเพิ่มขึ้นสำหรับการจัดสวนแนวตั้งเนื่องจากรูปแบบการสร้างอาคารขนาดใหญ่ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นอาคารแนวตั้ง ดังนั้นการเพิ่มทางเลือกให้แก่อาคารในการเพิ่มสีเขียวแก่สังคมจึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัย์ นอกจากนี้ การยินยอมให้เตรียมที่จอดรถมากกว่ากฎหมายได้ก็เป็นการช่วยลดความแออัดบนท้องถนน ลดปริมาณรถติด ลดการเผาเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น
หมวดที่ 3จะมีการเพิ่มทางเลือกเพื่อให้อาคารต่างๆในประเทศไทยเข้าสู่เกณฑ์ การประเมินได้ง่ายขึ้น โดยการดำเนินการตามข้อกำหนดเช่น การใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำตามจำนวนที่กำหนดโดยไม่จำเป็นต้องคำนวณการใช้น้ำ แนวทางนี้เป็นการกำหนด ทางด้าน Prescriptive Base เพิ่มเติมจากการกำหนดทางด้าน Performance Base เหมือนเช่นเกณฑ์อื่น ๆ
หมวดที่ 4มีความแตกต่างจากเกณฑ์ต่างประเทศที่สำคัญมากที่สุด คือ ยินยอมให้ใช้โปรแกรม BEC (พัฒนาโดยกระทรวงพลังงาน และ มจธ.) เทียบกับค่ามาตรฐาน ตามที่ระบุในกฎกระทรวงพลังงานได้ การดำเนินการตามวิธีนี้จะทำให้อาคารเข้าสู่เกณฑ์ประเมินได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาในการประเมินพลังงานได้เร็วขึ้นจากที่ต้องทำการจำลองการใช้พลังงานด้วยโปรแกรมที่มีความซับซ้อน และยังทำให้การลงทุนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมีความเหมาะสม คุ้มทุนสำหรับประเทศไทย ซึ่งต่างจากการใช้เกณฑ์ LEED ที่จะต้องประหยัดพลังงานให้ได้มากกว่ามาตรฐาน ASHRAE 90.1 ทำให้ต้องลงทุนด้านอุปกรณ์เป็นราคาที่แพงมาก เช่น มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งดีมากในแง่ประหยัดพลังงานแต่อาจไม่คุ้มทุนสำหรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าในประเทศไทย และ อาจทำให้ต้นทุนการก่อสร้างอาคารแพงขึ้นเกินกว่าสภาพสังคมจะยอมรับได้
หมวดที่ 5มีการสนับสนุนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ฉลากเขียว หรือฉลากคาร์บอนของประเทศไทย เป็นการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวทางที่สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ลดการพึ่งพา การประเมินจากภายนอก ทำให้อาคารได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า
หมวดที่ 6มีการยินยอมให้ใช้สวิทซ์ควบคุมแสงสว่างเฉพาะบุคคลซึ่งจะทำให้ลดการใช้ระบบควบคุมที่มีความซับซ้อนทำให้ลดการลงทุน และภายในหมวดนี้ยังกำหนดเกณฑ์แสงธรรมชาติที่เหมาะสมกับความรู้สึกสบายของคนไทยด้วย
หมวดที่ 7มีการเพิ่มเติมข้อกำหนดเรื่องตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ไม่ให้กระทบต่ออาคารข้างเคียง เนื่องจากแนวทาง การพัฒนาอาคารของประเทศไทยจะมีระยะห่างระหว่างอาคารค่อนข้างน้อยกว่าต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการการรบกวนกันระหว่างอาคาร ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่อาคารข้างเคียงได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์
หมวดที่ 8เป็นหมวดที่ให้คะแนนสำหรับอาคารที่คิดนวัตกรรมการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสม ซึ่งสามารถตัดสินได้จากคณะกรรมการ จากสถาบันอาคารเขียวไทยเอง ทำให้เป็นหัวข้อที่เสนอเป็นที่เข้าใจและเหมาะสมกับสังคมไทยได้อย่างแน่นอน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า นอกจากประเด็นในเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมแล้ว สิ่งที่ทางคณะกรรมการสถาบันอาคารเขียวไทยพิจารณาคือ ความเหมาะสมทางด้านสังคมและเศรษฐศาสตร์ สำหรับประเทศไทยด้วย อาคารในเมืองไทยจะสามารถสร้างให้ดีแค่ไหนก็ได้ แต่ต้นทุนที่ใช้ วัสดุที่ใช้ จะคุ้มค่าต่อเงินที่คนไทยเสียไปหรือไม่ เมื่อก่อสร้างแล้วจะสร้างผลตอบแทนที่สมดุลให้แก่ ผู้ลงทุน และสิ่งแวดล้อมในประเทศหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้นที่จะต้องพิจารณา ดังนั้นการมีเกณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย และมีความยากง่าย พอควรแก่อาคารในประเทศไทย จึงเป็นสิ่งที่จะเชื้อเชิญให้อาคารต่าง ๆ เข้าร่วมการประเมิน หรือ อย่างน้อยก็ได้นำเกณฑ์ไปใช้พัฒนาอาคาร ซึ่งที่สุดแล้วประเทศไทยก็จะได้เพิ่มจำนวนอาคารที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง
หมวดหมู่:
การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่างในตอนที่ 1 ได้พูดถึงวิธีการประหยัดพลังงานโดยการ “ปิดเมื่อไม่ใช้งาน” และ “ใช้งานบัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง” ซึ่งผลประหยัดที่ได้ และเงินลงทุนที่ใช้ไป ก็ขึ้นอยู่กับว่าเลือก Ballast ประเภทไหน ดังนั้นในการปรับปรุงจริงก็ควรพิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน และความเหมาะสมในการใช้งานประ
การออกแบบระบบสูบน้ำระบบเปิด เช่น การสูบน้ำหล่อเย็นของระบบระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็นแบบศูนย์รวม (Chiller) หากค่าอัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นสูงเกินกว่าค่าพิกัดใช้งาน ก็สามารถลดค่าอัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นลงได้โดยการติดตั้ง VSD แต่ต้องพิจารณาถึงแรงดันของน้ำหล่อเย็น (Head) ด้วยว่า เมื่อลดอัตราการไห