บริษัท มิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์ จำกัด โดยคุณวิโรจน์ เมล์ลุสกุล รองกรรมการผู้จัดการและในฐานะ QMR (Quality Management Representative) ได้ดำเนินการรับการตรวจ Surveillance Audit สำหรับ ISO9001:2015 ประจำปี 2563 โดยบริษัท SGS ซึ่งเป็น Auditor ชั้นนำของโลก โดยการตรวจได้มีการตรวจทั้งที่สำนักงาน และหน่วยงาน
กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือ ขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ. ๒๕๕๒
กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารที่มีพื้นที่รวมทั้งหมดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป เพื่อให้มีการออกแบบอาคารและติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานตั้งแต่เริ่มก่อสร้างใหม่ ซึ่งมีผลให้กฎหมายต่างๆที่บังคับใช้อยู่เดิมเช่น ค่า OTTV, RTTV และค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด ฯลฯ กับอาคารควบคุมได้ถูกยกเลิกไป แต่กฎหมายฉบับนี้มาควบคุมกับอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างใหม่เพื่อให้การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ใช้พลังงานในอาคารเกิดการประหยัดพลังงานตั้งแต่ก่อสร้างอาคารใหม่ โดยออกกฎหมายชื่อว่า “กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือ ขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ. ๒๕๕๒” ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2252 และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 52 โดยมีสาระความสำคัญ
หมวด ๑ ประเภทและขนาดของอาคาร
ข้อ ๒ การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารดังต่อไปนี้ หากมีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ ๒,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามกฎกระทรวงนี้
- (๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
- (๒) สถานศึกษา
- (๓) สำนักงาน
- (๔) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
- (๕) อาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- (๖) อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- (๗) อาคารโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- (๘) อาคารสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
- (๙) อาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า
หมวด ๒ มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคาร
ส่วนที่ ๑ ระบบกรอบอาคาร
ข้อ ๓ ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของอาคาร
(๑) ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศในแต่ละประเภทของอาคารต้องมีค่าไม่เกินดังต่อไปนี้
- ประเภทอาคาร : (ก) สถานศึกษา สำนักงาน ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอก ของอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) : ๕๐
- ประเภทอาคาร : (ข) โรงมหรสพ ศูนย์การค้า สถานบริการ ห้างสรรพสินค้า อาคารชุมนุมคน ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอก ของอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) : ๔๐
- ประเภทอาคาร : (ค) โรงแรม สถานพยาบาล อาคารชุดค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอก ของอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) : ๓๐
ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศ ให้คำนวณจากค่าเฉลี่ยที่ถ่วงน้ำหนักของค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคารแต่ละด้านรวมกัน
(๒) ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศในแต่ละประเภทของอาคารต้องมีค่าไม่เกินดังต่อไปนี้
- ประเภทอาคาร : (ก) สถานศึกษา สำนักงาน ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) : ๑๕
- ประเภทอาคาร : (ข) โรงมหรสพ ศูนย์การค้า สถานบริการ ห้างสรรพสินค้า อาคารชุมนุมคน ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) : ๑๒
- ประเภทอาคาร : (ค) โรงแรม สถานพยาบาล อาคารชุด ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) : ๑๐
(๓) อาคารที่มีการใช้งานพื้นที่หลายลักษณะ พื้นที่แต่ละส่วนต้องใช้ข้อกำหนดของระบบกรอบอาคารตามลักษณะการใช้งานของพื้นที่ แต่ละส่วนนั้น ในฉบับหน้าผมจะพูดในส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 ต่อไปครับ
ที่มาข้อมูล : http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=1077
หมวดหมู่:
ทีมงานผู้ออกแบบโครงการ RO New Facilities ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัทสเปศ อาร์คิเทค จำกัด โดยคุณศักดิ์สิน พูนศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการ และ คุณศักดิ์กฤต สวัสดี สถาปนิกอาวุโส บริษัทมิตรเทคนิคัลคอนซัลแท้นท์จำกัด โดยคุณวิโรจ์ เมลุสกุล รองกรรมการผู้จัดการ และสำนักงานออกแบบระฟ้า จำกัด โดยคุณนฤวรรณ เปาระพันธุ์
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดทำ “โครงการส่งเสริมและวัสดุอุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน” ขึ้นเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการใช้เครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยให้การสนับสนุนการลงทุนในเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน คุณสมบัติผู้เข้าร่