https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_11_1.png

การออกแบบระบบสูบน้ำระบบเปิด เช่น การสูบน้ำหล่อเย็นของระบบระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็นแบบศูนย์รวม (Chiller) หากค่าอัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นสูงเกินกว่าค่าพิกัดใช้งาน ก็สามารถลดค่าอัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นลงได้โดยการติดตั้ง VSD แต่ต้องพิจารณาถึงแรงดันของน้ำหล่อเย็น (Head) ด้วยว่า เมื่อลดอัตราการไหลของน้ำแล้วแรงดันของน้ำหล่อเย็น (Head) ต้องไม่ต่ำกว่าค่าพิกัดการออกแบบที่ต้องการ

(ดูภาพ กราฟตัวอย่างแสดงการปรับใช้งานปั๊มน้ำระบบเปิด เมื่อติดตั้ง VSD ประกอบ) -การลดความเร็วรอบจากจุดที่ 1 มายังจุดที่ 2 ในระบบเปิด ทำให้ Head เครื่องสูบน้ำต่ำกว่า Head ของระบบ เครื่องสูบน้ำจะไม่สามารถทำงานได้ -แก้ไขโดยการหรี่วาล์วจากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 3 ก่อน เพื่อเพิ่ม Head ของเครื่องสูบน้ำ แล้วค่อยลดความเร็วรอบจากจุดที่ 3 มาจุดที่ 4 -ในทางปฏิบัติทำได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้การตรวจวัด, คำนวณและ Commission ที่แม่นยำ หรือติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติเพิ่มเติม

ดังนั้นเราสามารถปรุงปรับระบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้โดยติดตั้ง VSD ที่เครื่องสูบน้ำหล่อเย็น (CDP) ซึ่งมีวิธีคำนวณความถี่ใช้งานและผลประหยัดพลังงานโดยใช้กฎ Affinity’ Law ได้เช่นเดียวกันปั๊มน้ำระบบปิด เพียงแต่ต้องคำนึงถึงแรงดันของน้ำหล่อเย็น (Head) เมื่อติดตั้ง VSD และปรับความเร็วรอบลงมาแล้ว แรงดันของน้ำหล่อเย็น (Head) ต้องไม่ต่ำกว่าจุดใช้งาน ตามกฎ Affinity’ Law (สามารถดูกฏ Affinity’ Law ได้ที่ด้านบน)

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_11_2.png

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระบบโทรทัศน์วงจรปิดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบสัญญาณภาพจากกล้อง Analog โดยใช้ระบบบันทึกภาพแบบ DVR (digital Video Recorder) และแบบสัญญาณกล้องเป้น IP แล้วใช้ชุดบันทึกภาพแบบ NVR (Network VDO Recorder) โดยทั้ง 2 ระบบมีความแตกต่างกันดังนี้ 1. ระบบ DVR ระบบ DVR จะรับสัญญาณภาพจากกล้องที่มีการประมวลผลแบบ Digit

Read More

ระบบเสียงประกาศในระดับ Enterprise จะมีการทำงานแบบอิสระทั้ง Input ( Microphone, Music, Event sound) และ Output (Speaker Zone) โดยผู้ใช้งานสามารถกำหนดและตั้งค่าการทำงานให้เสียงใดๆ ออกไปดัง ณ โซนใดๆ ได้อย่างอิสระ ณ เวลาเดียวกัน โดยไม่รบกวนกัน (Matrix Channel) การควบคุมการทำงานสามารถใช้งานได้โดยง่ายเพีย

Read More

อาคารสำนักงานในปัจจุบันนั้น เป็นสถานที่ที่ผู้คนหลายคนใช้เวลาเกือบทั้งวันอยู่ในอาคาร บางทีอาจจะมากกว่าอยู่ในบ้านพักอาศัยด้วยซ้ำ หลายอาคารในอดีตได้ก่อสร้างโดยละเลยความสำคัญของผู้ใช้งานในอาคาร ทำให้เกิดโรคเจ็บป่วยจากการใช้งานอาคาร (Sick Building Syndrome)ได้แก่ การเหนื่อยล้าง่าย ง่วง สมองไม่ปลอดโปร่ง ห

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า