https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_9_1.png

โดยทั่วไปการใช้พลังงานของโรงงานจะแปรผันตามปริมาณผลผลิต ซึ่งสามารถนำความสัมพันธ์ดังกล่าวมาใช้ในการตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานได้ โดยเรียกชื่อกราฟในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและผลผลิตนี้ว่า Scatter Diagram กราฟนี้จะ Plot ข้อมูลโดยให้แกนตั้งเป็นปริมาณพลังงานและแกนนอนเป็นปริมาณผลผลิต แล้วหาสมการตัวแทนของข้อมูลที่เหมาะสม (Best fit line)

จากกราฟ ความสัมพันธ์ระหว่างพลังานที่ใช้กับผลผลิตที่ได้จะแปรผันตามสมการ Y = mX + C

โดยที่

  • Y = พลังงานที่ใช้
  • X = ผลผลิตที่เกิดขึ้น
  • m = ปริมาณการใช้พลังงานที่แปรเปลี่ยนไปตามหน่วยการผลิตหรือดัชนีการใช้พลังงาน
  • C = Fixed Energy คือพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต เช่น การใช้พลังงานของสำนักงาน หรือ พลังงานสูญเสียต่างๆ
  • R ยกกำลัง 2 = Coefficient of Variation หรือ การกระจายตัว (scatter) ของข้อมูลกับเส้น Best fit ซึ่งเป็นค่าที่ใช้บ่งบอกความแม่นยำของสมการ โดยสมการที่สามารถนำมาใช้ วิเคราะห์ได้ควรมีค่า R ยกกำลัง 2 ≥ 0.75

ในการนำกราฟความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและผลผลิตมาใช้งานนั้น ต้องมีการนำค่าพลังงานและผลิตที่จะใช้เป็นค่า Baseline มาทำการสร้างกราฟ จากนั้นนำค่าที่ต้องการวิเคราะห์ Plot ลงไปยังกราฟ Baseline ถ้าค่าที่ plot ลงไปอยู่เหนือเส้นกราฟ Baseline แสดงว่ามีการใช้พลังงานสูงกว่าที่ควรจะเป็น แต่ถ้าอยู่ใต้เส้นกราฟแสดงว่ามีการใช้พลังงานน้อยกว่า Baseline หรือมีการประหยัดพลังงาน

จากนั้นนำค่าความแตกต่างของพลังงานของช่วงที่ต้องการเทียบกับ Baseline ของแต่ละเดือนมาทำการสะสมกัน ตัวอย่างเช่น

  • ค่าความแตกต่างเดือนที่ 1 = +7,335 kWh (เครื่องหมาย + หมายถึงใช้พลังงานสูงกว่า Baseline)
  • ค่าความแตกต่างเดือนที่ 2 = +5,892 kWh

ดังนั้น

  • ผลรวมสะสม ของ 2 เดือน = +13,227 kWh

นำค่าผลรวมสะสมของแต่ละเดือนมา Plot กราฟ โดยเรียกกราฟดังกล่าวว่า CUSUM Chart (Cumulative Sum of Difference Chart) ซึ่งกราฟนี้จะสามารถบอกทิศทางของการใช้พลังงานช่วงที่ต้องการติดตามเทียบกับ Baseline ได้ และสามารถบอกได้ว่ามีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเท่าใดหรือประหยัดพลังงานเท่าใด รวมทั้งยังสามารถบอกได้ว่ามีการใช้พลังงานผิดปกติ (Critical Point) เมื่อใด เพื่อใช้ในการหาสาเหตุที่ผิดปกติดังกล่าว

https://mitr.com/wp-content/uploads/2023/06/article_9_2.png

หมวดหมู่:

บทความที่เกี่ยวข้อง

จากการที่ได้ผมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเขียว ตามเกณฑ์ของ US Green Building Council ที่มีชื่อว่า LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) มาหลายโครงการทำให้พบว่าถึงแม้เกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับการแบ่งประเภทของอาคารเขียวว่า มีการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างก

Read More

น้ำ คือ ปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน และคุณสมบัติของน้ำ สามารถเป็นของแข็ง,ของเหลวและก๊าซได้ ซึ่งการที่จะใช้ประโยชน์ในแต่ละสถานะนั้นก็แตกต่างกัน บทความนี้ ขอกล่าวถึงการใช้ประโยชน์ในสถานะก๊าซเท่านั้น หรือที่เรียกว่า ไอน้ำ ทำไมเราจึงต้องใช้ไอน้ำและศึกษาเรื่องไอน้ำ ซึ่งสมัยก่อนใช้ไอน้ำเพีย

Read More

ในการใช้พลังงานโดยทั่วไป ระบบทำน้ำเย็น (Chiller Plant) เป็นระบบหนึ่งที่มีการใช้พลังงานอยู่ในสัดส่วนที่สูง ซึ่งการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพหรือการมองหาโอกาสในการประหยัดพลังงานของระบบ สามารถปรับปรุงได้โดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งใน 7 วิธีการที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ ปรับปรุงการตั้งค่า set poin

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า